นับถอยหลังเข้าสู่ช่วงสองสัปดาห์สุดท้ายของ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024 (BAB 2024) กับโอกาสที่เราจะได้ชมงานศิลปะร่วมสมัยมากกว่า 200 ชิ้น จาก 76 ศิลปินชั้นนำจากทั่วโลก ใน 11 สถานที่จัดแสดงทั่วกรุงเทพมหานคร จะสิ้นสุดลงในวันที่ 25 กุมภาพันธ์นี้ นั่นหมายความว่า โอกาสดีที่เราจะได้ชมงานศิลปะต่างยุคสมัยจัดแสดงร่วมกันในพื้นที่เดียวเหลือเวลาอีกไม่มากแล้ว
เรากำลังพูดถึงส่วนหนึ่งของทั้งหมด หรือผลงานศิลปะร่วมสมัยมากกว่า 34+ ชิ้นงานจาก 8 ศิลปินที่ถูกจัดแสดงเคียงโบราณวัตถุใน ‘พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร’ (Bangkok National Museum) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งแรกของไทย ที่มีอายุถึง 91 ปีนับแต่ประกาศตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2477 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ ‘วังหน้า’ และที่นี่เคยเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราชถึง 5 พระองค์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนมีการยกเลิกตำแหน่งในสมัยรัชกาลที่ 5
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ประกอบด้วย อาคารพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน, พระที่นั่งพุทไธสวรรย์, พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย, หมู่พระวิมาน, พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ และอาคารมหาสุรสิงหนาท
โดยศิลปะร่วมสมัยจาก BAB 2024 ทั้ง 34+ ชิ้นงานจาก 8 ศิลปิน BAB ทั้ง 8 คน ประกอบด้วย Haritorn Akarapat, Joseph Beuys, Chiara Camoni, Dusadee Huntrakul, Chitti Kasemkitvatana, Nakrob Moonmanas, Ravinder Reddy และ Komkrit Tepthian นั้นถูกจัดแสดงอยู่ในอาคารพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน อาคารจัดแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์แห่งแผ่นดิน ซึ่งคร่าคร่ำไปด้วยศิลปะโบราณวัตถุจากหลายยุคสมัยตั้งแต่ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มาจนถึงรัตนโกสินทร์
นี่คือช่วงเวลาที่ไม่ควรพลาด รีบมาชมก่อนที่ศิลปะร่วมสมัย 34+ ชิ้นงาน และโบราณวัตถุต่าง ๆ จะถึงเวลาแยกจาก ชมงานศิลปะในเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024 หรือ Bangkok Art Biennale 2024 (BAB 2024) ได้ถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์นี้ และนี่คือผลงานบางส่วนที่ไม่ควรพลาดชม
Time Machine โดย คมกฤษ เทพเทียน
ผลงานประติมากรรม 4 ชิ้น ที่จะเผยให้เห็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับพื้นที่จัดแสดง คือ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน นับตั้งแต่ช่วงการสร้าง การบูรณะ และการพัฒนาปรับเปลี่ยนการใช้งานของพื้นที่จนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงเกร็ด เรื่องเล่าของรูปเคารพอันเกี่ยวข้องและสะท้อน ความเชื่อ พิธีกรรม และประเพณีต่างๆในยุครัตนโกสินทร์ เพื่อเผยให้เห็นซึ่งความหลากหลายของเชื่อชาติ ศาสนา และความเชื่อในพื้นที่บริเวณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน และวังหน้า
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.bkkartbiennale.com/artwork/time-machine
Our Place in Their World โดย นักรบ มูลมานัส
ผลงาน ถักโลกทอแผ่นดิน นำเสนอห้วงขณะเมื่อชนชั้นนำและสามัญชนชาวสยามข้ามสมุทรจากดินแดนตะวันออกไกลไปยังโลกตะวันตก ในช่วงการก้าวเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20 ระหว่างการกรุยทางสู่ความเป็นสมัยใหม่ของสยาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงอำนาจจักรวรรดินิยมและความสำคัญยิ่งยวดของการต่างประเทศ พระองค์ทรงปรารถนาให้นานาอารยประเทศยอมรับสยามในฐานะประเทศเอกราช นำไปสู่การเสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2440 ซึ่งถือเป็นอีกหมุดหมายสำคัญของสยามในเวทีโลก
ผลงานนำเสนอประวัติศาสตร์กระแสหลัก ผนวกกับประวัติศาสตร์บอกเล่าของเหล่าสามัญชน อาทิ ก.ศ.ร.กุหลาบ ผู้มีความสำคัญในประวัติศาสตร์สื่อมวลชนสยาม นายทองคำ ผู้ออกเดินทางโดยลำพังเมื่ออายุ 16 ปี สู่ทวีปยุโรปและอเมริกาและใช้ชีวิตในต่างประเทศ 25 ปี และนายบุศย์มหินทร์ (บุศย์ เพ็ญกุล) ผู้นำคณะละครไทยคณะแรกที่เดินทางไปแสดงต่างประเทศ การแสดงของเขาใน พ.ศ. 2443 ได้ถูกบันทึก และปัจจุบันขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำของโลกโดย UNESCO
ถักโลกทอแผ่นดิน ร่างฉากทัศน์ประวัติศาสตร์ในการข้ามสมุทรของชาวสยามโดยการปะติดปะต่อเศษเสี้ยวแห่งความหลงลืมเข้ากับเรื่องเล่าหลักของชาติ นำเสนอการอยู่ร่วมกันของชั้นเรื่องเล่าอันหลากหลายในชั่วขณะเดียวกัน และถักทอร้อยเรียงกันในนานาวิถีทาง
ถักโลกทอแผ่นดิน คอมมิชชั่นโดยมูลนิธิบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ เพื่อร่วมจัดแสดงในนิทรรศการ วิญญาณข้ามมหาสมุทร ส่วนหนึ่งของมหกรรมศิลปะนานาชาติเวนิสเบียนนาเล่ ครั้งที่ 60 พ.ศ. 2567 โครงการนี้สำเร็จได้ด้วยการสนับสนุนจากหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน), สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และโครงการวิจัยภูมิทัศน์ของตำนาน: การขับเคลื่อนระบบนิเวศวัฒนธรรมในพื้นที่แอ่งเชียงแสน โดยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.bkkartbiennale.com/artwork/our-place-in-their-world
Sisters (Flame and Foam) by โดย Chiara Camoni
In mythological imagery ทางเทวตำนาน ความเป็นพี่สาวน้องสาวมักจะแทนด้วยสัญลักษณ์สายสะดือเส้นยาว เชื่อมกับพระแม่ธรณี แสดงความเป็นเอกภาพและพิธีกรรมที่ประกอบร่วมกัน งาน Sisters ของเคียร่า คาโมนีทำให้แนวความคิดนี้เป็นรูปธรรมขึ้นมาด้วยรูปปั้นผู้หญิงซึ่งมีทั้งมนุษย์ สัตว์และกึ่งเทพ ทำให้นึกถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับธรรมชาติและมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษ รูปปั้นเหล่านี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งผู้ใหญ่และเด็กส่งเสริมให้เกิดสายสัมพันธ์ใกล้ชิดสนิทสนมระหว่างสิ่งมีชีวิตกับโลกธรรมชาติ แสดงให้เห็นวัฏจักรของการมีอยู่ ยอมรับทั้งชีวิตและความตาย ความดีงามและความชั่วร้ายโดยผ่านวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ การทำรูปปั้นเหล่านี้ขึ้นมาเป็นพิธีกรรมสร้างการรับรู้ซึ่งเชื่อมโยงหัตถกรรมกับต้นกำเนิดของโลก
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.bkkartbiennale.com
Parvati โดย Ravinder Reddy
ผลงานของ Ravinder Reddy (ราวินเดอร์ เรดดี) ประติมากรชาวอินเดีย Parvati ประติมากรรมใบหน้าสีน้ำเงิน ตระหง่านปะทะสายตาผู้ชมด้วยนัยน์ตาคู่ยักษ์ ที่สะท้อนความอยากรู้อยากเห็น ความกล้า และความเป็นสตรีหรือศักติ (พลังของเพศแม่)
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.bkkartbiennale.com/artwork/parvati
ติดตามข่าวสาร และตารางกิจกรรมของ เพิ่มเติมได้ทาง Facebook และ Instagram : BkkArtBiennale
EXPLORERS: โบซึ, เจมส์
PHOTOGRAPHER: อนุพงษ์ ฉายสุขเกษม