Type and press Enter.

RE-UP PENDANT: โคมไฟจากขยะพลาสติก

ปัญหาของกล่องข้าวและแก้วน้ำพลาสติกใช้แล้วไม่ใช่การนำมารีไซเคิลไม่ได้ แต่เป็นเพราะไม่มีใครอยากเสียเวลาคัดแยกและทำความสะอาดก่อนทิ้งมากกว่า!

นั่นคือสาเหตุที่กล่องข้าวจากพลาสติก PP ต้องกลายเป็นขยะกำพร้าและถูกปัดตกก่อนพลาสติกจำพวกอื่นๆ ทว่าเบื้องหลังของการทำงานในเฟอร์นิเจอน์ซีรีย์ RE-UP Collection เปลี่ยนแนวคิดการนำกล่องข้าวและแก้วน้ำพลาสติกใช้แล้วมารีไซเคิลไปอย่างสิ้นเชิง

[ MAKE ] Explorers Club ตาม room Books ไปดูเบื้องหลังความร่วมมือก่อนมาเป็นโคมไฟ RE-UP ส่วนหนึ่งในซีรีย์ RE-UP Collection ออกแบบโดย TAKE HOME DESIGN ผลิตโดย Qualy จากพลาสติกในโครงการขยะสัญจรที่ Less Plastic Thailand และเครือข่ายร่วมกันรวบรวมเอาไว้ .
พลาสติกเจ้าปัญหาที่มีค่าสำหรับโรงงานแห่งนี้

Explorers Club ตาม room Books ไปดูเบื้องหลังความร่วมมือก่อนมาเป็นโคมไฟ RE-UP ส่วนหนึ่งในซีรีย์ RE-UP Collection ออกแบบโดย TAKE HOME DESIGN ผลิตโดย Qualy จากพลาสติกในโครงการขยะสัญจรที่ Less Plastic Thailand และเครือข่ายร่วมกันรวบรวมเอาไว้

นี่คือผลลัพธ์ของความตั้งใจคัดแยกขยะ และการเปลี่ยนขยะกำพร้าให้มีมูลค่าผ่านการออกแบบ ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) อย่างน่าสนใจไม่น้อย

[ MAKE ] Explorers Club ตาม room Books ไปดูเบื้องหลังความร่วมมือก่อนมาเป็นโคมไฟ RE-UP ส่วนหนึ่งในซีรีย์ RE-UP Collection ออกแบบโดย TAKE HOME DESIGN ผลิตโดย Qualy จากพลาสติกในโครงการขยะสัญจรที่ Less Plastic Thailand และเครือข่ายร่วมกันรวบรวมเอาไว้ .
RE-UP
[ MAKE ] Explorers Club ตาม room Books ไปดูเบื้องหลังความร่วมมือก่อนมาเป็นโคมไฟ RE-UP ส่วนหนึ่งในซีรีย์ RE-UP Collection ออกแบบโดย TAKE HOME DESIGN ผลิตโดย Qualy จากพลาสติกในโครงการขยะสัญจรที่ Less Plastic Thailand และเครือข่ายร่วมกันรวบรวมเอาไว้ .
จากซ้ายไปขวา เมธา เสนทอง, ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ และ เปิ้น-ปภพ ว่องพาณิชย์

โดยปกติ เปิ้น-ปภพ ว่องพาณิชย์ แห่ง Take Home Design จะมุ่งเน้นการทำเฟอร์นิเจอร์ไม้เป็นหลัก เมื่อต้องมาทำงานในโปรเจ็กต์ RE-UP Collection การออกแบบชุดเฟอร์นิเจอร์จากขยะพลาสติก ทำให้เขาเริ่มต้นจากการมาเยี่ยมชมโชว์รูมของ Qualy และทำความรู้กับกับสินค้ารีไซเคิลจากขยะพลาสติก ร่วมกับธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ นักออกแบบผู้ก่อตั้งแบรนด์ Qualy เพื่อนำไปต่อยอดแนวคิด

จากนั้นจึงเริ่มสเก็ตช์แบบและทดลองทำงานร่วมกันโดยใช้แม่พิมพ์จากเครื่องจักรของเดิมของ Qualy ใครจะรู้ว่าจากการทดลองทำเอาสนุก ไม่คิดถึงการขายของพวกเขาทั้งคู่ กลับกลายเป็นแนวทางสร้างสรรค์เพื่อค้นพบโอกาสใหม่ๆ

พอทั้งสองทีมเริ่มทำงานก็เกิดความคิดว่าจริงๆ แล้วมีขยะพลาสติกมากกว่านี้อีกไหม จึงได้เข้าไปพูดคุย และร่วมมือกับทีม Less Plastic Thailand ของ เมธา เสนทอง ซึ่งทำงานประสานงานรวบรวมขยะจากแหล่งต่างๆ จัดงานเป็นจิตอาสาทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ให้ทุกคนนำขยะในบ้านของตัวเองมารวมกัน เพื่อหาที่ส่งต่อเพื่อจัดการขยะอยู่แล้ว จึงกลายเป็นการผนึกกำลังทำงานที่ครบทั้งสามทีม

[ MAKE ] Explorers Club ตาม room Books ไปดูเบื้องหลังความร่วมมือก่อนมาเป็นโคมไฟ RE-UP ส่วนหนึ่งในซีรีย์ RE-UP Collection ออกแบบโดย TAKE HOME DESIGN ผลิตโดย Qualy จากพลาสติกในโครงการขยะสัญจรที่ Less Plastic Thailand และเครือข่ายร่วมกันรวบรวมเอาไว้ .
ขั้นตอนการย่อยพลาสติกให้เป็นเศษ
[ MAKE ] Explorers Club ตาม room Books ไปดูเบื้องหลังความร่วมมือก่อนมาเป็นโคมไฟ RE-UP ส่วนหนึ่งในซีรีย์ RE-UP Collection ออกแบบโดย TAKE HOME DESIGN ผลิตโดย Qualy จากพลาสติกในโครงการขยะสัญจรที่ Less Plastic Thailand และเครือข่ายร่วมกันรวบรวมเอาไว้ .
เศษพลาสติกที่ได้หลังผ่านกระบวนการย่อย
[ MAKE ] Explorers Club ตาม room Books ไปดูเบื้องหลังความร่วมมือก่อนมาเป็นโคมไฟ RE-UP ส่วนหนึ่งในซีรีย์ RE-UP Collection ออกแบบโดย TAKE HOME DESIGN ผลิตโดย Qualy จากพลาสติกในโครงการขยะสัญจรที่ Less Plastic Thailand และเครือข่ายร่วมกันรวบรวมเอาไว้ .
เศษพลาสติกที่ได้หลังผ่านกระบวนการย่อย
[ MAKE ] Explorers Club ตาม room Books ไปดูเบื้องหลังความร่วมมือก่อนมาเป็นโคมไฟ RE-UP ส่วนหนึ่งในซีรีย์ RE-UP Collection ออกแบบโดย TAKE HOME DESIGN ผลิตโดย Qualy จากพลาสติกในโครงการขยะสัญจรที่ Less Plastic Thailand และเครือข่ายร่วมกันรวบรวมเอาไว้ .
คนและเครื่องจักรทำงานร่วมกัน
[ MAKE ] Explorers Club ตาม room Books ไปดูเบื้องหลังความร่วมมือก่อนมาเป็นโคมไฟ RE-UP ส่วนหนึ่งในซีรีย์ RE-UP Collection ออกแบบโดย TAKE HOME DESIGN ผลิตโดย Qualy จากพลาสติกในโครงการขยะสัญจรที่ Less Plastic Thailand และเครือข่ายร่วมกันรวบรวมเอาไว้ .
แม่พิมพ์
[ MAKE ] Explorers Club ตาม room Books ไปดูเบื้องหลังความร่วมมือก่อนมาเป็นโคมไฟ RE-UP ส่วนหนึ่งในซีรีย์ RE-UP Collection ออกแบบโดย TAKE HOME DESIGN ผลิตโดย Qualy จากพลาสติกในโครงการขยะสัญจรที่ Less Plastic Thailand และเครือข่ายร่วมกันรวบรวมเอาไว้ .
นี่คือผลลัพธ์ของความตั้งใจคัดแยกขยะ และการเปลี่ยนขยะกำพร้าให้มีมูลค่าผ่านการออกแบบ

“การดีไซน์ คือการแก้ปัญหา การทำงานพลาสติกเป็นเรื่องที่ไกลตัวมาก เพราะทำแม่พิมพ์ใหม่ราคาสูงมาก แต่ถ้าใช้มุมมองของการออกแบบเข้าไปดูว่าแม่พิมพ์เดิมจะสร้างอะไรได้บ้าง รวมกับใช้วัสดุที่ต้นทุนไม่แพง ทำให้เราสร้างสรรค์งานใหม่ได้สะดวกขึ้น” เปิ้นเล่าถึงแนวคิดหลักของเขาในฐานะนักออกแบบและผู้ประกอบการ ภายใต้วิธีคิดในการใช้วัสดุให้คุ้มค่า และประหยัดต้นทุน อย่างเช่น การตัดแผ่นไม้ยางพารา ในขนาดแผ่นมาตรฐาน 120 x 240 เซนติเมตร ให้ลงแผ่นพอดี

[ MAKE ] Explorers Club ตาม room Books ไปดูเบื้องหลังความร่วมมือก่อนมาเป็นโคมไฟ RE-UP ส่วนหนึ่งในซีรีย์ RE-UP Collection ออกแบบโดย TAKE HOME DESIGN ผลิตโดย Qualy จากพลาสติกในโครงการขยะสัญจรที่ Less Plastic Thailand และเครือข่ายร่วมกันรวบรวมเอาไว้ .
อาบน้ำให้ RE-UP ก่อนไปเป็นโคมไฟจากขยะพลาสติกกำพร้าอย่างสมบูรณ์

นอกจากนี้หนึ่งในแนวคิดการออกแบบ RE-UP คือการแก้ปัญหาเรื่องรูปลักษณ์หน้าตาของเฟอร์นิเจอร์รีไซเคิลที่ไม่สวยงามน่าดึงดูด หรือบางทีก็ดูเหมือนเป็นของเหลือใช้ แล้วสร้างการรับรู้ใหม่ให้คนดูแล้วไม่สามารถรู้ได้ว่านี่คือวัสดุรีไซเคิล เปิ้นบอกว่า “เป็นความตั้งใจให้คนตกหลุมรักที่งานออกแบบเป็นลำดับแรก เพื่อให้เขายิ่งรักมันมากขึ้นกว่าเดิมเมื่อรู้ว่านี่เป็นของรีไซเคิล”

ชมวีดีโอเบื้องหลังความร่วมมือก่อนมาเป็นโคมไฟ RE-UP ได้ที่นี่

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *