Type and press Enter.

Hear & Found กลุ่มนักสร้างสรรค์ผู้ตามบันทึกเสียงเฉพาะตัวของท้องถิ่นเพื่อการสร้างความเข้าใจ

Hear & Found กลุ่มนักสร้างสรรค์ผู้ตามบันทึกเสียงเฉพาะตัวของท้องถิ่นเพื่อการสร้างความเข้าใจ

บ้างอาจบอกว่า ยุคสมัยปัจจุบันเป็นยุคทองของการเป็น “นักพูด” เมื่อโซเชียลมีเดียในมืออนุญาตให้ใครก็ได้สามารถเขียน แสดงความคิดเห็น หรือ “แชร์” ตัวตนลงบนโลกอินเตอร์เน็ตได้ถี่เท่าวินาทีที่ปลายนิ้วสัมผัส

กระแสความเป็นไปนี้อาจต่างกับสิ่งที่ ‘เม–ศิรษา บุญมา’ และ ‘รักษ์–ปานสิตา ศศิรวุฒิ’ สองผู้ก่อตั้ง Hear & Found แพลตฟอร์มเก็บบันทึกเสียงสำหรับงานสร้างสรรค์มุ่งปฏิบัติ ตรงที่สิ่งสำคัญสำหรับผู้ก่อตั้งทั้งสองนั้นไม่ใช่การพูด แต่เป็นการ “ฟัง” เสียงแว่วของธรรมชาติ ผู้คน และวัฒนธรรมที่แตกต่างและถูกหลงลืม

Hear & Found กลุ่มนักสร้างสรรค์ผู้ตามบันทึกเสียงเฉพาะตัวของท้องถิ่นเพื่อการสร้างความเข้าใจ

เม – ศิรษา บุญมา ตัวแทน Hear & Found อธิบายการทำงานของพวกเขาผ่านการบรรยายในหัวข้อ “เล่าเรื่องวัฒนธรรมที่อาจเลือนหาย ผ่านดนตรีชนเผ่าและเสียงของท้องถิ่น” ณ เวที “Meet on Stage” โดย National Geographic ฉบับภาษาไทย ร่วมกับ บ้านและสวน Explorers Club ใน บ้านและสวนแฟร์ Select 2023 เมื่อวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา ด้วยจุดประสงค์การแนะนำเสียงที่อาจกำลังเลือนหายให้คนในเมืองใหญ่รู้จักและเข้าใจผู้คนที่อยู่ห่างไกลได้ดีขึ้น

Hear & Found กลุ่มนักสร้างสรรค์ผู้ตามบันทึกเสียงเฉพาะตัวของท้องถิ่นเพื่อการสร้างความเข้าใจ
Hear & Found กลุ่มนักสร้างสรรค์ผู้ตามบันทึกเสียงเฉพาะตัวของท้องถิ่นเพื่อการสร้างความเข้าใจ

ศิรษาเล่าว่า แพลตฟอร์ม Hear & Found คือ Social enterprise ที่ขณะนี้มีอายุราว 5 ปีแล้วนั้น เป็นพื้นที่เก็บรวบรวมและเผยแพร่เสียงดนตรีชนเผ่า เสียงธรรมชาติ และเสียงเฉพาะตัวของท้องถิ่นต่างๆ ที่หูของคนจำนวนมากเช่นคนในเมืองไม่คุ้นเคยหรือไม่เคยตั้งใจฟังมาก่อน

ศิรษา และ ปานสิตา ใช้ทักษะความเป็น Sound Engineer พ่วงการเป็น Sound Designer รวมถึงการเป็น Traveler และ Story Teller ออกตามหาเสียงทั้งหลายที่หล่นหายในท้องถิ่นต่างๆ ในประเทศไทยตั้งแต่เหนือจรดใต้ รวมถึงในกรุงเทพมหานครเอง แล้วจัดเก็บรวบรวมเป็น Inclusive music เผยแพร่ผ่าน hearandfound.com เป็นหลัก

Hear & Found กลุ่มนักสร้างสรรค์ผู้ตามบันทึกเสียงเฉพาะตัวของท้องถิ่นเพื่อการสร้างความเข้าใจ

ในเชิงธุรกิจ เสียงเหล่านี้จะถูกนำเสนอในตลาดการใช้เสียงในเชิงสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นในโฆษณา ภาพยนตร์ โซเชียลมีเดีย หรือในเชิงการสร้างแบรนด์ด้วยเสียง (Sonic Branding) และยังรวมไปถึงการนำเสียงไปแฝงฝังอยู่ในสถานที่ต้องการใช้เสียงที่เฉพาะเจาะจง เช่น โรงแรม สปา หรือร้านค้าทั้งหลาย

ในอีกด้านหนึ่ง เสียงที่หาฟังยากเหล่านี้ก็จะถูกนำเสนอในเชิงไม่แสวงหากำไร เช่น ในเทศกาลงานออกแบบหรือศิลปะต่างๆ รวมถึงการเปิดเวทีเชิญนักดนตรีท้องถิ่นให้มาเล่นให้ฟังสดๆ

Hear & Found กลุ่มนักสร้างสรรค์ผู้ตามบันทึกเสียงเฉพาะตัวของท้องถิ่นเพื่อการสร้างความเข้าใจ
Hear & Found กลุ่มนักสร้างสรรค์ผู้ตามบันทึกเสียงเฉพาะตัวของท้องถิ่นเพื่อการสร้างความเข้าใจ
Hear & Found กลุ่มนักสร้างสรรค์ผู้ตามบันทึกเสียงเฉพาะตัวของท้องถิ่นเพื่อการสร้างความเข้าใจ

โดยการจะทำเช่นนี้ ศิรษา เล่าว่าแม้ในการทำงานของเธอจะพึ่งพาทักษะเชิงเทคนิคและเชิงอาชีพของการเป็น Sound Engineer ที่เธอสำเร็จการศึกษามาต่อยอดเป็นธุรกิจ แต่ที่สุดแล้วทักษะที่สำคัญที่สุดที่จะเอื้อให้ทำงานลักษณะนี้สำเร็จได้นั้น คือการฟัง และการฟังในที่นี้ ศิรษา กล่าวว่าสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องเป็นการฟังอย่างไม่ตัดสิน ฟังอย่างไม่ชี้แนะ และฟังอย่างไม่เข้าข้างตัวเองว่าผู้พูดต้องการสื่ออะไร

“เขามีเสียงเป็นของเขาเอง” คือสิ่งที่ ศิรษา สรุปได้จากการเดินทางฟังเสียงทั้งหลายในหลายปีที่ผ่านมา และนอกจากนั้น การเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดัน เปิดหู และเปิดใจผู้คนทั้งหลายต่อเสียงที่ไม่คุ้นเคย เป็นภารกิจที่ ศิรษา กล่าวว่าสำคัญและเป็นรากฐานของการดำเนินงานของ Hear & Sound มาโดยตลอด โดยเฉพาะในแง่การสร้างความเข้าใจ และการสานความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เหล่านี้เป็นทั้งสารตั้งต้นและเป้าหมายของ Hear & Sound ที่ยังผลักดันให้เธอและทีมออกเดินทางเพื่อ “ฟัง” คนแปลกหน้า มาตลอด 5 ปีจนถึงปัจจุบัน

“มันไม่ได้เป็นการเดินเข้าไปแล้วบอกว่า พี่คะ หนูเป็นซาวน์เอ็นจิเนียร์ หนูอยากทำอย่างนี้ๆ แต่มันเป็นการสร้างความคุ้นเคยกัน พอเขาเปิดใจ เราก็คุยกับเขาได้ง่ายๆ เลยว่า หนูมีทักษะแบบนี้นะ พี่อยากบันทึกงานของพี่ไหม ซึ่งพอเราอัดเสร็จ เราได้เปิดให้เขาฟัง มันกลายเป็นภาพที่เขามีความสุขมาก เหมือนเขาได้ยินเสียงที่เป็นเสียงของตัวเอง”

“งานนี้มันสอนเราอย่างหนึ่งเลยก็คือ การฟังอย่างไม่ตัดสิน คือการเปิดใจฟังแล้วไม่ใช้มาตรฐานของตัวเราไปบอกหรือไปพูดกับเขาว่า แล้วทำไมเธอไม่ทำอย่างนี้ล่ะ หรือถ้าทำอย่างนี้จะดีกว่านะ หรือเธอจะต้องทำ หนึ่ง สอง สาม สี่ แล้วเดี๋ยวเธอจะดีขึ้น”

“หลายๆ คนอาจจะอยากจับการทำงานสายนี้เข้าไปอยู่ในกรอบทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่ง แต่ว่าประสบการณ์ในการทำงานทั้งหมดของเรามันสอนเราว่า พื้นฐานการทำงานนี้คือเรื่องความสัมพันธ์ เหมือนเราเป็นเพื่อนกับเพื่อน สิ่งที่เราทำ หรือสิ่งที่เราบรรยายไปทั้งหมด จริงๆ แล้วสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของมันก็คือเรื่องความสัมพันธ์ แค่นั้นเลย”

Hear & Found กลุ่มนักสร้างสรรค์ผู้ตามบันทึกเสียงเฉพาะตัวของท้องถิ่นเพื่อการสร้างความเข้าใจ
Hear & Found กลุ่มนักสร้างสรรค์ผู้ตามบันทึกเสียงเฉพาะตัวของท้องถิ่นเพื่อการสร้างความเข้าใจ

ในวันที่ 11-13 พฤษภาคมนี้ Hear & Found กำลังจะมีเวิร์กช้อป พาเพื่อนร่วมเดินทางจำนวน 10 คน ไปเปิดหูให้ลึกขึ้น เพื่อเข้าใจธรรมชาติ ชุมชน และตัวเรา โดยใช้ชีวิตร่วมกับคนในพื้นที่แบบ Exclusive ที่เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน กับโปรแกรม ‘Your Nature Sound Collection Workshop ตอน Listen to the Sea เดินฟังและเก็บเสียงที่เกาะลิบง’ .

Hear & Found กลุ่มนักสร้างสรรค์ผู้ตามบันทึกเสียงเฉพาะตัวของท้องถิ่นเพื่อการสร้างความเข้าใจ

ในเวิร์กช้อปนี้นอกจาก Hear & Found จะชวนคนไปฟังแบบลงลึก ฟังตัวเอง ฟังเสียงทะเลและสิ่งมีชีวิตรอบๆ เกาะ ยังมีการพาไปล่องเรือตกหมึก (ถ้าโชคดีอาจได้พบพยูนตัวเป็นๆ) ชมปะการังน้ำตื้น หรือชมพระอาทิตย์ตกที่หาดหลังเขา ลิ้มรสซาชิมิ อาหารทะเลสดๆ วัตถุดิบจากชุมชนที่หากินยาก สอนเก็บเสียง (Field Recordist) ในพื้นที่ชุมชนลิบง พร้อมเรียนรู้ระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติของเกาะลิบง ทั้งด้านทะเล พะยูน และชุมชน เพื่อทำความเข้าใจวิถีชีวิตชาวมุสลิมและอาชีพประมงพื้นบ้าน

Hear & Found กลุ่มนักสร้างสรรค์ผู้ตามบันทึกเสียงเฉพาะตัวของท้องถิ่นเพื่อการสร้างความเข้าใจ
Hear & Found กลุ่มนักสร้างสรรค์ผู้ตามบันทึกเสียงเฉพาะตัวของท้องถิ่นเพื่อการสร้างความเข้าใจ

สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม (มีค่าใช้จ่าย) หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อผ่านทาง Inbox Facebook Hear & Found หรือ https://forms.gle/WF2RbFLWJSRspvaMA

AUTHOR: กรกฏ หลอดคำ
PHOTOGRAPHY: Hear & Found

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *