Type and press Enter.

สำรวจมรดกโลกทางธรรมชาติ กลุ่มป่าแก่งกระจาน

กลุ่มป่าแก่งกระจาน ไล่เรียงจากเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

‘การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย’ ชักชวนพวกเรา ‘บ้านและสวน Explorers Club’ ลงพื้นที่สำรวจมรดกโลกแหล่งที่ 6 ของไทย หรือมรดกโลกทางธรรมชาติของไทยแหล่งที่ 3 ‘กลุ่มป่าแก่งกระจาน’ ผืนป่าขนาดใหญ่ที่เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก

ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศทำให้เราสามารถพบช้างป่า กระทิง หมีหมา เสือโคร่ง หรือโชคดีหน่อยก็จะได้พบจระเข้น้ำจืด ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงสัตว์ป่าหายากชนิดอื่น ๆ อย่างเสือดำและแมวดาวที่อาศัยอยู่ในผืนป่าแห่งนี้ .ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติมากมายที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้ว่าพื้นที่ภายในกลุ่มป่าแก่งกระจานนั้นสวยงามเพียงใด

กลุ่มป่าแก่งกระจาน ไล่เรียงจากเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
แผนที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน ไล่เรียงจากเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีแหล่งมรดกโลก หรือ World Heritage Site ทั้งหมด 6 แหล่งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโก โดยแบ่งออกเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม และแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ อย่างละ 3 แหล่งเท่า ๆ กัน ประกอบด้วย อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และกลุ่มป่าแก่งกระจาน

หากเจาะจงลงไปเฉพาะแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ยูเนสโกได้ประกาศขึ้นทะเบียน ‘เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง’ ให้เป็นแหล่งมรดกทางธรรมชาติแห่งแรกของไทย ในปี พ.ศ. 2534 ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 เป็นคิวของ ‘กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่’ ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกทางธรรมชาติแห่งที่สอง และล่าสุดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2564 ‘กลุ่มป่าแก่งกระจาน’ ที่เรากำลังจะพูดถึงในครั้งนี้ ซึ่งนับเป็นถิ่นที่อยู่ของพันธุ์พืชและสัตว์นานาชนิดที่หายากและกำลังตกอยู่ในสภาวะอันตราย หรือเสี่ยงต่อการศูนย์พันธุ์ และเป็นหนึ่งในผืนป่าขนาดใหญ่ที่ยังคงมีความสมบูรณ์ทางภูมิศาสตร์กายภาพ ก็ผ่านหลักเกณฑ์ในการพิจารณาและได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโกให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติแหล่งที่สามของไทย

กลุ่มป่าแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Forest Complex) ประกอบด้วยพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 1 แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และอุทยานแห่งชาติกุยบุรี มีพื้นที่ราว 4,089 ตารางกิโลเมตร หรือกว่า 2.5 ล้านไร่ มีอาณาเขตจากเหนือสุดจรดใต้สุดยาวกว่า 200 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ และเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี ภูมิประเทศอันสลับซับซ้อนที่ทอดยาวผ่านคอคอดกระจนถึงคาบสมุทรมลายู ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับเมียนมาร์ทางภาคตะวันตกของไทย และเป็นจุดเชื่อมต่อกับผืนป่าตะวันตกซึ่งเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งแรกบริเวณตอนล่างของเทือกเขาถนนธงชัยที่เป็นอีกหนึ่งพรมแดนไทยกับเมียนมาร์ ซึ่งทอดยาวลงมาจากภาคเหนือจรดตอนบนของเทือกเขาตะนาวศรีที่จังหวัดกาญจนบุรี

เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี
และอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
จังหวัดราชุบุรี

กลุ่มป่าแก่งกระจาน ไล่เรียงจากเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
แวะสำรวจเส้นทางศึกษาธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี

ราชบุรี จังหวัดนี้มีดีกว่าที่เราคิดไว้มาก นอกจากจะใกล้กรุงเทพฯ โดยใช้เวลาเดินทางไม่นานแบบยังไม่ทันเมื่อยแล้ว ยังเป็นต้นทางของกลุ่มป่าแก่งกระจานด้วย

เรามาเริ่มต้นกันที่ ‘อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน’ เป็นอันดับแรก บรรยากาศโดยรวมของที่นี่เงียบสงบ มีจุดกางเต็นท์และห้องน้ำห้องท่าไว้คอยอำนวยความสะดวก สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการตั้งแคมป์ค้างคืน หรือจะเลือกนอนแถว ๆ ริมอ่างเก็บน้ำใต้ร่มไม้ก็บรรยากาศดีไปอีกแบบ ที่นี่มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่ระยะทางไม่ไกล เดินขึ้นเนินเข้าป่าไผ่ ลัดเลาะริมลำธาร ชมความงามของธรรมชาติไปเรื่อย ๆ

ส่วนระยะทางก็กำลังดีไม่ไกล มีจุดหนึ่งที่รับรองว่าคนมาที่นี้ต้องชอบแน่ ๆ คือต้นกระดิ่งนางฟ้าต้นใหญ่เด่นที่อยู่กลางลำธาร สวยงามร่มรื่น จะนั่งเล่น หรือจะนอนพักสักงีบก็ไม่เลว และอีกหนึ่งความเจ๋งของที่นี่ก็คือ เราสามารถเอาจักรยานเสือภูเขามาปั่นออกกำลังวนรอบอ่างเก็บน้ำได้ด้วย ทางลูกรังผสมเนินเบา ๆ ปั่นวนสักสามรอบรับรองได้เหงื่อ ถ้าเป็นคนต้องการความสงบรับประกันว่าที่นี่คือคำตอบ เตรียมอุปกรณ์แคมปิ้งกันมาให้พร้อม รับรองว่าถูกใจสายแคมป์แน่นอน

กลุ่มป่าแก่งกระจาน ไล่เรียงจากเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
อ่างเก็บน้ำไทยประจัน ภายในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี
กลุ่มป่าแก่งกระจาน ไล่เรียงจากเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ลงสำรวจพื้นที่ป่าหนองยาว ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี จังหวัดราชบุรี

มาต่อกันที่แหล่งเที่ยวสุดสงบอีกที่ “หน่วยพิทักษ์ป่าหนองยาว” ที่นี่อยู่ในความดูแลของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี เพิ่งจะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาตั้งแรมแคมปิ้งกันได้ไม่นานนัก ทันทีที่เข้ามาจะพบกับสะพานไม้ไผ่ข้ามลำธาร ที่เราต้องเดินเท้าข้ามไป รับรองว่าตรงนี้ต้องได้รูปไว้อวดเพื่อนแน่นอนอย่างน้อยคนละสามสี่รูป เนื่องจากเป็นพื้นที่เปิดใหม่ เลยทำให้บริเวณนี้ดูเงียบเป็นพิเศษ พื้นที่กว้างขวาง ร่มรื่น และมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติให้นักท่องเที่ยวสายเดินได้ลองเข้าไปสัมผัสด้วย

ถ้าโชคดีบางทีอาจจะได้พบกับ ละอง ละมั่ง ที่ออกมาหากินในพื้นที่แถวนี้ สำหรับจุดกางเต็นท์ ยังไม่ได้ถูกกำหนดบริเวณเอาไว้แต่มีห้องน้ำไว้บริการ หากจะเลือกกางเต็นท์ ก็ให้คำนึงถึงความสะดวกและปลอดภัยเป็นหลักก็จะดีมาก ที่นี่ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีไวไฟ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ในบางเครือข่าย เพราะฉะนั้นเราจะไม่โดนใครตามงานแน่ ๆ ถ้ามาแบบนี้ทั้งทีมีอุปกรณ์แคมป์พร้อม ๆ สักนิดแล้วจะมีความสุขมาก

กลุ่มป่าแก่งกระจาน ไล่เรียงจากเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
อ่างเก็บน้ำห้วยท่าเคย

เปลี่ยนจากบรรยากาศของป่ามาสู่ที่โล่งกว้างกันบ้าง อ่างเก็บน้ำห้วยท่าเคย ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ควรจะมาสัมผัสกัน อ่างเก็บน้ำกว้างใหญ่ มีวิวทิวสน และทิวเขาที่อยู่ตรงหน้า มองไปมองมาก็มีความคล้ายต่างประเทศ แถวนี้มีที่ตั้งแคมป์ให้เลือกเยอะมาก ร้านอาหาร ร้านกาแฟวิวดี ๆ มีให้เลือกกันตามชอบ

กลุ่มป่าแก่งกระจาน ไล่เรียงจากเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Phupha Coffee Camp และมะหาด-ไทธารา โฮมสเตย์

อย่างสถานที่ที่เราไปมาอย่าง มะหาดไทธารา หรือภูผาคอฟฟี่แคมป์ ก็ถือได้ว่าเป็นสถานที่ยอดนิยม วิวดี มีเรือพาย หรือจะกางเต็นท์ก็ได้ตามใจชอบเลย จะดื่มด่ำกับพระอาทิตย์ขึ้นตอนเช้า หรือจะชิลล์กับพระอาทิตย์ตกตอนเย็น ก็ได้ฟิลทั้งคู่ หรือขับรถออกมาอีกสักหน่อย มาชิมความอร่อยของมันหวานญี่ปุ่นจากไร่แดงสะอาด หรือจะซื้อไปเป็นของฝากก็เป็นอะไรที่ยอดเยี่ยม แต่ถ้าอยากลองขุดมันที่นี่เขาก็ให้นักท่องเที่ยวไปขุดมันได้เองเลยเป็นอีกกิจกรรมสนุก ๆ ที่น่าลอง

อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
จังหวัดเพชรบุรี

เที่ยวอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน พื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติที่มีสัตว์ป่าให้ส่อง มียอดเขาให้นั่งมองทะเลหมอกอย่างไม่มีเบื่อ แถมยังมีผีเสื้อโบยบินให้ชมอย่างเพลิดเพลิน ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในฤดูร้อน! ก่อนอื่นพวกเราไม่อยากให้ทุกคนรีบด่วนสรุป หรือยึดติดกับภาพจำของจังหวัดเพชรบุรี ว่ามีแค่เขื่อนดินคั่นแม่น้ำเพชรบุรีอย่าง ‘อ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน’ หรือ ‘ชายหาดชะอำ’ เป็นสองสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามที่สุด จนกว่าจะได้มาสัมผัสบรรยากาศที่ ‘บ้านกร่าง’ และ ‘เขาพะเนินทุ่ง’ ภายในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

กลุ่มป่าแก่งกระจาน ไล่เรียงจากเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
สำรวจธรรมชาติ ณ บ้านกร่างแคมป์ ภายในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี คนรักผีเสื้อต้องหลงใหลที่นี่แน่นอน

พูดถึง ‘บ้านกร่าง’ คนรักผีเสื้อต้องหลงใหลที่นี่แน่นอน เพราะบริเวณบ้านกร่างที่ตั้งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ประมาณ 35 กิโลเมตร เป็นแหล่งดูนก ดูผีเสื้อ และเป็นจุดกางเต็นท์ของอุทยานฯ ที่เรียกกันว่า ‘บ้านกร่างแค้มป์’ นอกจากจะร่มรื่นและเงียบสงบมาก ๆ ในวันธรรมดาแล้ว ที่นี่ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะทาง 3 กิโลเมตร ให้นักเดินป่าและสำรวจธรรมชาติได้รื่นรมย์อีกด้วย

แน่นอนว่าสิ่งที่พวกเราประทับใจที่สุดในบ้านกร่าง คือภาพหมู่มวลผีเสื้อหลากสีและสายพันธุ์ ที่ทั้งเกาะบนผืนดินและโบยบินขวักไขว่จนไม่อาจนับจำนวนได้ โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคม ถึงพฤษภาคมของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่โป่ง หรือดินบริเวณพื้นที่ของอุทยานฯ ที่มีเนื้อละเอียดและรสเค็ม อันเกิดจากแร่ธาตุธรรมชาติซึ่งเป็นอาหารที่ผีเสื้อชื่นชอบมีความเข้มข้นเป็นพิเศษ จึงนับเป็นฤดูชมผีเสื้อหรือเรียกอีกอย่างว่าเทศกาลดูผีเสื้อของอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานก็ว่าได้

ดังนั้นที่นี่จึงเปรียบเสมือนบ้านของผีเสื้อ เราในฐานะผู้มาเยือนจึงต้องคำนึงถึงข้อควรระมัดระวังเป็นพิเศษ นั่นคือการเดินเท้าและขับรถภายใต้ความเร็วที่กำหนดไว้เพื่อรบกวนถิ่นที่อยู่อาศัยของผีเสื้อให้น้อยที่สุด รวมถึงการไม่จับหรือแตะต้องตัวผีเสื้อเลยก็จะดีที่สุด

กลุ่มป่าแก่งกระจาน ไล่เรียงจากเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ทริปนี้เราตื่นแต่เช้าขึ้นไปชมทะเลหมอกบนเขาพะเนินทุ่ง อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

ทริปนี้เรายังได้พบว่าที่จริงแล้วจังหวัดเพชรบุรีมีสองทะเลที่สวยงามไม่แพ้กันเลย ทะเลแรกคือทะเลอ่าวไทยที่เราสามารถไปเที่ยวได้ผ่านชายหาดขึ้นชื่ออย่างชะอำ ส่วนอีกหนึ่งทะเลที่เราอยากเน้นเป็นพิเศษ คือทะเลหมอกที่ลอยเหนือทิวเขาและป่าดิบบนเขาพะเนินทุ่ง

ช่วงใกล้รุ่งของเช้าวันนั้น พวกเรานัดพบกับพี่สิทธิ์ เจ้าของรถกระบะ 4×4 รับจ้าง ให้มารับเราถึงที่พักที่กฤติยาไวท์เฮาส์ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากด่านเก็บเงินก่อนขึ้นอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานมากนัก เพื่อขึ้นไปชมทะเลหมอกกันที่จุดชมวิวพะเนินทุ่ง ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 900 เมตร และตั้งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ประมาณ 50 กิโลเมตร

สภาพแวดล้อมที่เราเห็นบนยอดเขาถูกปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าและต้นไม้น้อยใหญ่ มีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี แม้ครั้งนี้เราจะเดินทางไปในช่วงต้นฤดูร้อนก็ตาม แต่อากาศยามเช้าก็ยังคงเย็นสบายและสามารถเห็นทะเลหมอกได้เหมือนกัน คิดดูสิว่า ถ้าหากมาในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะงดงามขนาดไหน

แต่สำหรับใครที่อยากชมพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า หรือชมพระอาทิตย์ตกยามเย็น แนะนำว่าให้ค้างแรมบนนี้เลยดีที่สุด เพราะถ้าหากนั่งรถกระบะจากที่พักหรือจุดกางเต็นท์บริเวณบ้านกร่างแคมป์ขึ้นไปยังจุดชมวิวในยามเช้านั้นมีโอกาสพลาดชมสูงมาก นั่นเพราะอุทยานฯต้องการป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากการสัญจร จึงได้มีการกำหนดช่วงเวลาการนำรถกระบะขึ้น-ลงเขาพะเนินทุ่งเป็น 2 ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงขาขึ้นเวลา 05.30-07.30 น. และ 13.00-15.00 น. และช่วงขาลงเวลา 09.00-10.00 น. และ 16.00-17.00 น. เท่านั้น.ฃ

นอกจากจุดชมวิวพะเนินทุ่ง ยังมีเส้นทางเดินเท้าให้นักเดินป่าหรือนักสำรวจที่มีเวลาได้ไปพิชิตยอดเขาพะเนินทุ่ง ซึ่งมีความสูง 1,207 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางอีก 2 เส้นทาง คือ เส้นทางสายวังวน-พะเนินทุ่ง ที่จะผ่านลำธารหลายสายโดยใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง กับอีกหนึ่งเส้นทางสายวังวน-พะเนินทุ่ง ที่เหมาะกับการไปส่องนกซึ่งใช้เวลาเพียง 4 ชั่วโมง

แต่ถึงอย่างไรทั้งสองทางก็ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ของอุทยานฯเป็นผู้ช่วยนำทางไปเท่านั้น สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อวางแผนก่อนขึ้นอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน โดยติดต่อกับศูนย์บริการนักท่องเที่ยวได้ที่โทร. 09-1050-4461, 0-3277-2311 หรือติดต่อที่ทำการอุทยานฯ โทร.0-3277-2312 และอีเมล [email protected] หรือใครอยากใช้บริการรถยนต์ 4×4 ของพี่สิทธิ์เหมือนเราก็แนะนำให้จองล่วงหน้าก่อนที่โทร.08-7898-5947

อุทยานแห่งชาติกุยบุรี
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

สถานที่สุดท้าย เราจะพาเที่ยวซาฟารีเมืองไทย ไปส่องสัตว์ป่าในพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ ที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี แล้วออกมากินข้าวเย็นท้ายไร่กับเมนูบ้าน ๆ ง่าย ๆ แต่อร่อยจนอยากเชียร์ให้มิชลิน ไกด์ มอบรางวัลบิบ กูร์มองด์! จากนั้นไปนอนค้างแรมที่โฮมสเตย์กลางไร่สัปปะรด แล้วตื่นเช้าไปดักรอพระอาทิตย์กลางทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ติดพรมแดนไทย-เมียนมาร์ และปิดท้ายทริปสองวัน-หนึ่งคืนแบบอิ่มใจ กับหลากหลายกิจกรรมของวิสาหกิจชุมชนหมู่บ้านรวมไทย ตั้งแต่ดูการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงไปลองเก็บขี้ช้างมาทำกระดาษ

กลุ่มป่าแก่งกระจาน ไล่เรียงจากเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
จากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เรามาต่อกันที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แอบส่องสัตว์ป่าธรรมชาติ เช่น ช้างป่า กระทิง วัวแดงที่จุดชมสัตว์ป่าโป่งสลัดได / ภาพถ่ายโดยพี่ยุ่ง ช่างภาพอุทยานแห่งชาติกุยบุรี

สัตว์ป่าหนึ่งชนิดเมื่อมาเที่ยวอุทยานแห่งชาติกุยบุรีแล้วมีโอกาสได้พบมากที่สุดคือ ช้างป่า จากการเก็บข้อมูลล่าสุดของสำนักอุทยานแห่งชาติ ในเดือนมกราคม 2556 ระบุว่าภายในเขตอุทยานแห่งชาติกุยบุรี มีจำนวนประชากรช้างป่าไม่น้อยกว่า 250 ตัว โดยเฉพาะบริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ที่ กร. 1 (ป่ายาง) และพื้นที่โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จะมีฝูงช้างป่ากุยบุรีพร้อมลูกช้างเกิดใหม่อาศัยและอยู่กินมากที่สุดกว่า 200 ตัว

ที่นี่มีบริการรถเช่าเหมาคันไปชมสัตว์ป่า อุทยานจะเริ่มเปิดเส้นทางให้ชมได้ตั้งแต่บ่ายสองโมงตรงเป็นต้นไปจนถึงช่วงหกโมงเย็น เส้นทางเข้าชมสัตว์ป่ามีระยะทางไป-กลับรวม 15 กิโลเมตร และเป็นทางลูกรังตลอดเส้น มีจุดชมสัตว์ป่า 4 จุด ได้แก่

  1. โป่งสลัดได จุดนี้สามารถพบเห็นกระทิงและช้างป่าฝูงใหญ่ที่ลงมากินหญ้าช่วงเย็น
  2. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กร.1 ป่ายาง บริเวณด้านในมีบ่อน้ำขนาดใหญ่ และเป็นจุดที่ช้างป่าชอบมาเล่นน้ำ รวมถึงยังเป็นจุดพักกินน้ำของสัตว์ป่าทั้งหลาย
  3. พุยายสาย เป็นจุดที่สามารถชมสัตว์ป่าได้ใกล้ที่สุด และสามารถพบฝูงกระทิงได้บ่อยในบริเวณนี้
  4. จุดชมสัตว์ป่าบนหน้าผากว้างใหญ่ มองเห็นทิวเขาสลับซับซ้อนไกลสุดตา แถมระหว่างทางจากพุยายสายมาถึงที่นี่ยังมี ป่าสนต้นม่วง ที่มีนกหลากหลายสายพันธุ์คอยแอบดูนักท่องเที่ยวอย่างเราอยู่ด้วย แนะนำว่าเริ่มออกรถสักช่วงบ่ายสามโมง เพราะอากาศไม่ร้อนนัก ส่วนในช่วงเย็น ๆ จะมีสัตว์ป่าออกมาหากินเยอะหน่อย และเมื่อพระอาทิตย์ใกล้ตกดิน ระหว่างทางกลับเราจะเจอสัตว์ป่าเดินผ่านหน้ารถ บ้างก็แอบอยู่ตามโพรงหญ้าข้างทางให้เราชมได้แบบใกล้ชิด

พี่ ๆ เจ้าหน้าที่บอกว่า 80% มาแล้วมีโอกาสได้เจอสัตว์ป่า และเที่ยวได้ตลอดทั้งปี นอกจากกระทิง วัวแดง และช้างป่า ยังมีสัตว์ป่าอีกหลากหลายชนิดที่เจอบ่อยในที่แห่งนี้ ทั้งหมาใน กวาง นกกระลิงเขียดหางหนาม หมูป่า เสือ ฯลฯ สำหรับอัตราค่าบริการเมื่อมาเที่ยวอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ผู้ใหญ่คิดค่าเข้า 40 บาท เด็ก 20 บาท ส่วนค่าเช่ารถชมสัตว์ป่าตกคันละ 850 บาท โดยรถหนึ่งคันนั่งได้ 6 คน หารกันแล้วตกคนละร้อยกว่าบาท คุ้มมาก และเหมาะสำหรับการมาเป็นกลุ่มยิ่งนัก

แนะนำว่าส่องสัตว์ป่าเสร็จอย่าเพิ่งรีบกลับ แพลน ๆ ยาว ๆ มาพักค้างแรมสักคืน ไว้ตื่นแต่เช้ามาลองเที่ยวชุมชนบ้านรวมไทยต่อสักวัน ให้การเดินทางสองวัน-หนึ่งคืนจบแบบอิ่มใจยิ่งขึ้น

กลุ่มป่าแก่งกระจาน ไล่เรียงจากเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
และนอกจากนอนในไร่ เรายังได้กินข้าวท้ายไร่จากฝีมือชาวบ้าน เมนูที่เสิร์ฟมาอร่อยมาก

เพราะก่อนหกโมงเย็นเป็นข้อบังคับที่นักสำรวจทุกคนต้องออกจากพื้นที่ส่องสัตว์ป่าของอุทยานฯ กิจกรรมแนะนำหลังจากนี้ให้ลองติดต่อล่วงหน้าไปกินข้าวเย็นฝีมือชาวบ้านกันต่อที่ ไร่ภูฆัง ฟาร์มสเตย์ ในตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทิศเหนือของหมู่บ้านรวมไทย ไม่ไกลจากเขตอุทยานฯมากนัก.ที่นี่คุณจะได้กินอาหารเมนูบ้าน ๆ ง่าย ๆ แต่รสชาติอร่อยอย่าบอกใคร

ทั้งน้ำพริกกะปิ กินกับผัดปลอดสารพิษสารพัดชนิดที่เก็บสด ๆ จากสวนท้ายไร่มาต้มยำทำแกง มีเมนูปลาทอดราดกระเทียม ผัดผัก แกงป่า และไข่เจียว กินกับข้าวสวยร้อน ๆ คือดีมาก ตบท้ายด้วยผลไม้สด ๆ กับชิมน้ำผึ้งสดใหม่แสนหวาน เคล้าบรรยากาศยามเย็นของบ้านท้ายไร่ เพราะที่นี่คือบ้านสำหรับนอนเฝ้าช้างเพื่อป้องกันไม่ให้ช้างเข้ามาหากินและทำลายพืชผลในพื้นที่เกษตรกรรม ใครอยากกางเต็นท์ค้างแรมที่นี่ก็ย่อมได้ รับรองว่าเป็นประสบการณ์ที่น่าประทับใจมาก ๆ

กลุ่มป่าแก่งกระจาน ไล่เรียงจากเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พวกเรายังเลือกพักที่โฮมสเตย์ของชุมชนบ้านรวมไทย พื้นที่ใกล้เคียงอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ที่นี่พวกเราสามารถเรียนรู้การทำกระดาษจากขี้ช้างและใบสัปปะรด ส่องสัตว์ป่าอย่างช้างหรือวัวที่ถูกเลี้ยงอย่างอิสระในทุ่งกว้าง นั่งรถแทร็กเตอร์ไปดูวิถีคนที่ใช้ชีวิตอยู่กับช้าง ดูพระอาทิตย์ขึ้นกลางทุ่งกว้าง ท่ามกลางไอหมอกยามเช้าหลังคืนฝนพรำ

ตอนเช้ามืดเรานัดกับชาวบ้านที่จะนำรถแทร็กเตอร์มารับถึงที่พัก เพื่อไปจิบกาแฟแลตะวัน ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ กร.2 (สำโหรง) หนึ่งในจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นช่วงเช้าที่สวยงามมาก ๆ ก่อนไปเตรียมกล้องให้พร้อม เพราะคุณจะได้เก็บภาพแสงตะวันสีส้มอ่อนฉาบไปทั่วทุ่งกว้างจนอิ่มใจ ได้เห็นชาวบ้านนำฝูงวัวออกมากินหญ้า และเห็นวิวทิวเขาไกลสุดตาไปจนถึงอ่างเก็บน้ำยางชุม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

อีกจุดที่เป็นไฮไลต์ของที่นี่คืออุโมงค์จามจุรี หรืออุโมงค์ก้ามปู เพราะเจ้าต้นจามจุรีอายุนับสิบปีหลายสิบต้น ปลูกเรียงรายขนานไปตามถนนลูกรังจนเกิดเป็นอุโมงค์ธรรมชาติท่ามกลางทุ่งหญ้า 1,500 ไร่ พื้นที่ปลูกหญ้าหญ้าแพงโกล่าและหญ้าคองโกเป็นอาหารของวัว ที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ ทริปนี้พวกเราโชคดีที่ได้เห็นไอหมอกปกคลุมแนวเทือกเขาตะนาวศรีที่คั่นเป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทยและเมียนมาร์ด้วย สวยเกินบรรยายและต้องลองไปสัมผัสด้วยตาตัวเองเท่านั้นถึงจะเข้าใจ

ทั้งหมดนี้คือภาพบางส่วนที่เราเก็บมาฝากจากการเที่ยวป่าใกล้กรุง ลงพื้นที่สำรวจ ‘กลุ่มป่าแก่งกระจาน’ เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ สถานที่ทั้งหมด เรารวมมาให้เปิดแผนที่เที่ยวตามได้ ปักหมุดไว้ครบเลยที่นี่ https://bit.ly/3LftUek

รวมที่เที่ยวแก่งกระจาน คลิก

[ EXPLORERS ]
บาส, ต้น, กิ๊บ, เฟี้ยต, ไอซ์, ปิง

[ PHOTOGRAPHER ]
ศุภกร ศรีสกุล

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *