Type and press Enter.

ชมวิถีมอญโบราณ หมู่บ้านชาวญัฮกุร

ทัวร์อีสานย้อนรอย ญัฮกุร ไปเห็นชีวิต วัฒนธรรม และธรรมชาติของชนเผ่ามอญทวารวดี ที่ชัยภูมิ

หากพูดถึงมอญ หลายคนอาจคิดถึงชุมชนมอญพระประแดง สังขละบุรี หรือแถบเมียนมาร์ แต่มอญที่เรากำลังกล่าวถึง คือกลุ่มมอญโบราณที่มีเรื่องราวยาวนานมาก ซึ่งคำว่ามอญโบราณคงเป็นคำที่คุ้นเคยดีอยู่แล้ว แต่คำว่า “ญัฮกุร” นี่สิคืออะไร อ่านออกเสียงอย่างไร มันเป็นสิ่งที่ทำให้ความอยากรู้กระตุ้นให้ออกเดินทางตามคำชวนของ ณฤต เลิศอุตสาหกูล หรือ ครูเต้าหู้ ผู้ประสานงานกิจกรรมเรียนรู้ของชุมชนญัฮกุร บ้านไร่

ฟังปราชญ์ชุมชนเล่าความเป็นมา ปัจจุบันชาวญัฮกุรทั้งสามจังหวัด มีประชากรอยู่หกพันกว่าคน ชาวญัฮกุรได้มีการพัฒนาทางด้านภาษาเขียนด้วยการนำตัวอักษรไทยมาเทียบเสียงภาษาถิ่นให้กลายเป็นภาษาที่อ่านได้ ชาวญัฮกุรจะเรียกตัวเองว่า “คนดง” และ “ชาวบน” คำว่า “ญัฮ” แปลว่า คน คำว่า “กุร” แปลว่าภูเขา ซึ่งถ้าแปลรวมๆ แล้วก็คงหมายถึงคนที่อยู่บนภูเขา อยู่บนที่สูงก็ได้
ฟังปราชญ์ชุมชนเล่าความเป็นมา ปัจจุบันชาวญัฮกุรทั้งสามจังหวัด มีประชากรอยู่หกพันกว่าคน
บ้านของชาวญัฮกุร มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นบ้านไม้ยกใต้ถุนสูง ไม่มีหน้าต่าง บนเรือนแบ่งเป็นสามระดับที่มีหน้าที่ในการใช้งานต่างกัน การวางคานบนเสาที่มีลักษณะเหมือนง่ามหนังสติ๊ก เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างหนึ่งที่แปลกตาสำหรับคนเมือง
บ้านของชาวญัฮกุร มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นบ้านไม้ยกใต้ถุนสูง ไม่มีหน้าต่าง บนเรือนแบ่งเป็นสามระดับที่มีหน้าที่ในการใช้งานต่างกัน การวางคานบนเสาที่มีลักษณะเหมือนง่ามหนังสติ๊ก เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างหนึ่งที่แปลกตาสำหรับคนเมือง

“ญัฮกุร” (Nyah Kur) ออกเสียงว่า “ยะกูร” ภาษาของคนกลุ่มนี้อยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic) เป็นมอญ-เขมร จากการศึกษาของนักภาษาศาสตร์พบว่า ภาษาญัฮกุร เป็นภาษาย่อยของมอญโบราณที่ใช้พูดในสมัยทวารวดี อาณาจักรเก่าแก่ในแผ่นดินสยาม มีคำพูดหลายคำที่ทำให้เห็นความเชื่อมโยงในด้านเสียงและความหมายกับคำในศิลาจารึกของมอญโบราณ

เต้าหู้เล่าให้ผม (ผู้เขียน) ฟังก่อนจะออกเดินทางว่า “ผม (เต้าหู้) อยากให้ทุกคนได้รู้จักและเรียนรู้เรื่องราวของชุมชน ดนตรีชาติพันธ์ุ รวมถึงวิถีของชาวบ้านผ่านการเดินชมและลงมือทำ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ต่อยอดของดนตรีพื้นบ้านชาติพันธุ์ญัฮกุร ท่องเที่ยวชุมชนเชิงสืบสานวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนต่อไป” ผมว่าเพียงเท่านี้ก็น่าจะเพียงพอต่อการลงพื้นที่เรียนรู้วิถีของพวกเขาแล้วครับ และนี่จึงเป็นที่มาของทริปท่องเที่ยวชุมชนมอญโบราณที่ตำบลบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ให้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ทั้งในเรื่องอาหาร วัฒนธรรม และธรรมชาติ

อีสาน ญัฮกุร วิถีชีวิต วัฒนธรรม ธรรมชาติ ชนเผ่ามอญทวารวดี ชัยภูมิ
เต้าหู้ ผู้ประสานงานของชุมชน ตื่นเต้นกับเสื่อผืนเก่า ที่สานจากหวาย งานฝีมือชาวญัฮกุรที่น่าสืบสาน

ชีวิต

เมื่อมาถึงตำบลบ้านไร่ พวกเราเข้ามาที่หมู่บ้านวังอ้ายโพธิ์ เพื่อมาชมบ้านของชาวญัฮกุรที่พัฒนาจากบ้านไม้ไผ่แบบดั้งเดิมในป่า พอย้ายถิ่นฐานลงมาพื้นราบ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นไม้ถาวรขึ้น แต่ยังคงเป็นบ้านไม้ยกใต้ถุนสูง บนเรือนแบ่งเป็นสามระดับที่มีหน้าที่ในการใช้งานต่างกัน การวางคานบนเสาที่มีลักษณะเหมือนง่ามหนังสติ๊ก เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างหนึ่งที่แปลกตาสำหรับคนเมือง

กลุ่มคนญัฮกุร เป็นกลุ่มคนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่แถบเขาพังเหย อยู่ที่ตำบลบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต จริงๆ แล้วญัฮกุรจะพบได้ในสามจังหวัด ที่ชัยภูมิจะอาศัยอยู่ในสองอำเภอ คือบ้านเขว้า และเทพสถิต นอกนั้นก็อาศัยอยู่ จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดนครราชสีมา ที่อำเภอปักธงชัย

อีสาน ญัฮกุร วิถีชีวิต วัฒนธรรม ธรรมชาติ ชนเผ่ามอญทวารวดี ชัยภูมิ
เสื้อพ๊อก เครื่องแต่งกายของชาวญัฮกุร พวกเขายังคงตัดเย็บเสื้อผ้าใช้เอง โดยลวดลายที่ปักลงบนผ้านี้ คือรูปดอกยางนา
อีสาน ญัฮกุร วิถีชีวิต วัฒนธรรม ธรรมชาติ ชนเผ่ามอญทวารวดี ชัยภูมิ
ชาวญัฮกุรยังคงตัดเย็บเสื้อผ้าใช้เอง ลวดลายที่ปักลงบนผ้าคือรูปดอกยางนา
ดอกยางนา
ดอกยางนา

ปัจจุบันชาวญัฮกุรทั้งสามจังหวัด มีประชากรอยู่หกพันกว่าคน ชาวญัฮกุรได้มีการพัฒนาทางด้านภาษาเขียนด้วยการนำตัวอักษรไทยมาเทียบเสียงภาษาถิ่นให้กลายเป็นภาษาที่อ่านได้ ชาวญัฮกุรจะเรียกตัวเองว่า “คนดง” และ “ชาวบน” คำว่า “ญัฮ” แปลว่า คน คำว่า “กุร” แปลว่าภูเขา ซึ่งถ้าแปลรวมๆ แล้วก็คงหมายถึงคนที่อยู่บนภูเขา อยู่บนที่สูงก็ได้

อีสาน ญัฮกุร วิถีชีวิต วัฒนธรรม ธรรมชาติ ชนเผ่ามอญทวารวดี ชัยภูมิ
ตู่ (ผู้เขียน) เที่ยวดงชาวญัฮกุร

วัฒนธรรม

จากชีวิตที่เรียบง่ายของกลุ่มคนญัฮกุร มักจะแสดงออกมาทางการเล่นดนตรีและการฟ้อนรำ การมาเที่ยวในครั้งนี้เราได้เห็นเครื่องดนตรีที่ผลิตขึ้นจากธรรมชาติและความเรียบง่าย อย่าง กลองโทนดิน เคาะจุ๊บเปิ้ง ดีดผวจ โดยเฉพาะเป่าใบไม้ เป็นความสามารถเฉพาะตัวมากๆ ซึ่งชาวญัฮกุรเป่าใบไม้ได้เป็นเพลงและบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ ได้อีกด้วย

เพลงเป่าใบไม้ มีไว้เรียกพรรคพวกที่เข้าไปหาของป่าว่าถึงเวลาต้องกลับบ้านแล้ว จะเรียกว่าเป็นเพลงเรียกกลับบ้านก็ได้ ข้อดีของการได้มาเที่ยวชุมชนแบบนี้ทำให้เราได้ลงมือทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ ผมลองเป่าใบไม้แบบที่ชาวบ้านเป่า ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ส่วนใหญ่จะหนักไปทางไม่ได้ ชาวบ้านเป่าใบไม้เป็นเพลง ผมเป่าใบหญ้าเป็นเสียงนกเสียงไก่ เลยลองเอามาเป่าให้ฟัง ถือเป็นการแลกเปลี่ยนเทคนิคกันไปในช่วงเวลาสั้นๆ

อีสาน ญัฮกุร วิถีชีวิต วัฒนธรรม ธรรมชาติ ชนเผ่ามอญทวารวดี ชัยภูมิ
กลองโทนดิน เครื่องดนตรีที่ผลิตขึ้นจากธรรมชาติและความเรียบง่ายของกลุ่มคนญัฮกุร
อีสาน ญัฮกุร วิถีชีวิต วัฒนธรรม ธรรมชาติ ชนเผ่ามอญทวารวดี ชัยภูมิ
เพลงเป่าใบไม้ เป็นเพลงที่มีไว้เรียกพรรคพวกที่เข้าไปหาของป่าว่าถึงเวลาต้องกลับบ้านแล้ว จะเรียกว่าเป็นเพลงเรียกกลับบ้านก็ได้ ส่วน ปะ เรเร เป็นจังหวะการตีกลอง ข้อดีของการได้มาเที่ยวชุมชนแบบนี้ทำให้เราได้ลงมือทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ

กลุ่มคนญัฮกุร จะมีการแบ่งหน้าที่กันแค่ผู้ชาย ผู้หญิง โดยมากแล้วผู้หญิงจะมีความรู้ด้านการเสี่ยงทาย เช่นของหาย ผู้หญิงที่ทำพิธีก็จะนำคำหมากพลูที่ห่อมาผูกด้ายแขวนให้หมุนเพื่อ ทำพิธีเสี่ยงทาย ส่วนผู้ชายก็จะมีหน้าที่หาอาหารด้วยการเข้าป่าล่าสัตว์ ทุกครั้งที่เข้าป่าพวกผู้ชายก็จะทำพิธีขอเจ้าป่าเจ้าเขาเข้าไปหาอาหาร และทุกครั้งที่ออกจากป่าก็จะมีผู้ใหญ่ทำพิธีเรียกขวัญ จะเป็นแบบนี้ตลอด

ลองทำขนมลิ้นหมาแบบชาวญัฮกุร เริ่มจากนำแป้งข้าวเหนียวที่นวดผสมกล้วยสุกและกะทิ มาปั้นเป็นแผ่นแบนยาว คลุกงาขาว แล้วนำลงทอดน้ำมันในกระทะด้วยไฟอ่อน รอจนแป้งเหลืองได้ที่ ขนมนี้รสชาติหวานหอม กินหนึบ ๆ เพลินมาก
ลองทำขนมลิ้นหมาแบบชาวญัฮกุร เริ่มจากนำแป้งข้าวเหนียวที่นวดผสมกล้วยสุกและกะทิ มาปั้นเป็นแผ่นแบนยาว คลุกงาขาว แล้วนำลงทอดน้ำมันในกระทะด้วยไฟอ่อน รอจนแป้งเหลืองได้ที่ ขนมนี้รสชาติหวานหอม กินหนึบ ๆ เพลินมาก
อีสาน ญัฮกุร วิถีชีวิต วัฒนธรรม ธรรมชาติ ชนเผ่ามอญทวารวดี ชัยภูมิ
สาธิตเทคนิคการดักไก่ด้วยเครื่องมือจากภูมิปัญญาของอดีตพรานป่าแห่งญัฮกุรอย่างลุงวิทย์

ธรรมชาติ

กลุ่มคนญัฮกุร เป็นกลุ่มคนที่ใช้พื้นที่ป่าด้วยความคุ้มค่ามาก ทุกการก้าวย่างจะบอกได้หมดว่าต้นไม้ชนิดไหนกินได้ กินไม่ได้ อาชีพหลักของคนญัฮกุรคือ พรานป่า ภายหลังเริ่มทำการเกษตร แต่ก็ยังคงวิถีชีวิตแบบเดิมอยู่ด้วยการเข้าป่าไปหาของป่าและล่าสัตว์

ในสมัยก่อน ๆ ที่ชาวญัฮกุรจะทำการเกษตร ไม่ใช่อยู่ดีๆ พวกเขาจะไปถางป่า ทำไร่เลย คนเฒ่าคนแก่ของหมู่บ้าน จะทำพิธีขอขมาเจ้าป่าเจ้าเขาก่อนเสมอเพื่อขอพื้นที่ทำกิน แล้วเข้านอนตามปกติเพื่อดูว่าคืนนี้หลังจากเสร็จพิธีแล้วจะฝันดีไหม ถ้าฝันว่าไฟไหม้หรือฝันไม่ดี ก็จะไม่ทำ ไร่ที่นั่น เพราะชาวญัฮกุรเชื่อว่าป่าทุกป่ามีเจ้าของ จะทำสิ่งใดต้องขอ

พนม ปราชญ์ชุมชน พาเราสำรวจน้ำตกเทพพนาในช่วงที่น้ำแห้งขอดจนเห็นชั้นหินและลานกว้าง เดินเหินสะดวกแต่ร้อนเอาเรื่อง นอกจากนี้พนมยังพาเราไปรู้จักพืชสมุนไพรที่ขึ้นอยู่ตามน้ำตกแห่งนี้ด้วย
พนม ปราชญ์ชุมชน พาเราสำรวจน้ำตกเทพพนาในช่วงที่น้ำแห้งขอดจนเห็นชั้นหินและลานกว้าง เดินเหินสะดวกแต่ร้อนเอาเรื่อง นอกจากนี้พนมยังพาเราไปรู้จักพืชสมุนไพรที่ขึ้นอยู่ตามน้ำตกแห่งนี้ด้วย
พนม ปราชญ์ชุมชน พาเราสำรวจน้ำตกเทพพนาในช่วงที่น้ำแห้งขอดจนเห็นชั้นหินและลานกว้าง เดินเหินสะดวกแต่ร้อนเอาเรื่อง นอกจากนี้พนมยังพาเราไปรู้จักพืชสมุนไพรที่ขึ้นอยู่ตามน้ำตกแห่งนี้ด้วย
ตู่ สำรวจน้ำตกเทพพนา
อีสาน ญัฮกุร วิถีชีวิต วัฒนธรรม ธรรมชาติ ชนเผ่ามอญทวารวดี ชัยภูมิ
ช่วงบ่าย พนมพาเรามาถึงอีกหนึ่งน้ำตกที่อยู่ด้านหลังหมู่บ้านชาวญัฮกุร เขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม นี่คือน้ำตกเทพประทาน ในฤดูร้อนที่นี่น้ำแห้งขอดเช่นนี้
อีสาน ญัฮกุร วิถีชีวิต วัฒนธรรม ธรรมชาติ ชนเผ่ามอญทวารวดี ชัยภูมิ
ซึ่งในวันนั้นเราได้ชมการแสดง รำเอิ้นฟ้าขอขมาผึ้ง และนั่งกินข้าวกลางวันกลางลานหินกว้างด้วย

จากการอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติอย่างกลมกลืนของชาวญัฮกุร สะท้อนให้เห็นถึงอาหารการกินที่บอกถึงธรรมชาติที่กินได้อย่างน่ามหัศจรรย์อย่าง เช่น เมี่ยม หรือเมี่ยงชาวญัฮกุร รวมมิตรสมุนไพรซึ่งผมเองได้ลองแล้วรสชาติดีมาก ส่วนผสมของเมี่ยงก็จะมี กล้วยดิบ มะอึก ตะไคร้ ลำต้นทูน หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เพิ่มรสชาติด้วยกับพริกขี้หนู และเกลือ ห่อด้วยใบต้นทูนม้วนรัดด้วยใบกุยช่าย

การกินเมี่ยงของชาวญัฮกุรเป็นการกินเพื่อรักษาสมดุลของร่างกาย นอกจากนั้นยังเป็นการรักษาขนบประเพณี ว่าด้วยเรื่องความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และปรึกษาหารือกัน เพราะการกินเมี่ยงเวลากินมักจะล้อมวงกินกันเป็นกลุ่ม และกลุ่มคนญัฮกุรนี้เองที่เป็นกลุ่มที่ค้นพบทุ่งดอกกระเจียวที่ลือลั่นบนอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ที่หลายคนรู้จักจนเป็นเทศกาลชมทุ่งดอกกระเจียวจนถึงปัจจุบัน

อีสาน ญัฮกุร วิถีชีวิต วัฒนธรรม ธรรมชาติ ชนเผ่ามอญทวารวดี ชัยภูมิ
ส่วนผสมของเมี่ยงก็จะมี กล้วยดิบ มะอึก ตะไคร้ ลำต้นทูน หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เพิ่มรสชาติด้วยกับพริกขี้หนู และเกลือ ห่อด้วยใบต้นทูนม้วนรัดด้วยใบกุยช่าย
อีสาน ญัฮกุร วิถีชีวิต วัฒนธรรม ธรรมชาติ ชนเผ่ามอญทวารวดี ชัยภูมิ
ขั้นตอนการปิ้งหมูปลาร้าห่อใบตอง กับหมูเสียบไม้ย่างเกลือ
อีสาน ญัฮกุร วิถีชีวิต วัฒนธรรม ธรรมชาติ ชนเผ่ามอญทวารวดี ชัยภูมิ
หมูปลาร้าห่อใบตอง หมูเสียบไม้ย่างเกลือ กินกับข้าวเหนียว ผักต้ม ผักสดจากป่า เกลือ และน้ำพริกที่ตำจากพริกสด ๆ รสเผ็ดร้อน กินแบบชาวญัฮกุรแท้ ๆ ต้องวางรวมกันบน ขันโตกใบไม้ กองใบไม้ที่เก็บเอาจากป่าแบบนี้

ทริปท่องเที่ยววิถีชุมชนแบบนี้ ใช้เวลา 2 วัน 1 คืนก็เพียงพอแล้วสำหรับประสบการณ์การใช้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เงียบสงบ ลืมบอกไปหากคุณมาใช้ชีวิตที่หมู่บ้านของชุมชนชาวญัฮกุรแล้ว มีสถานที่แนะนำที่มาถึงแถวนี้แล้วห้ามพลาด จะขึ้นมานอนพักหรือเดินเล่นที่อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม เป็นอุทยานแห่งชาติที่เงียบสงบ มีลานกลางเต็นท์ ที่สำคัญที่นี่ขึ้นชื่อในเรื่องของค่ำคืนที่มืดสนิท เหมาะสำหรับคนที่ชอบนอนดูดาว เป็นอุทยานที่เที่ยวได้ทั้งปีไม่มีข้อแม้

อีสาน ญัฮกุร วิถีชีวิต วัฒนธรรม ธรรมชาติ ชนเผ่ามอญทวารวดี ชัยภูมิ
ชาวญัฮกุรรุ่นใหม่
อีสาน ญัฮกุร วิถีชีวิต วัฒนธรรม ธรรมชาติ ชนเผ่ามอญทวารวดี ชัยภูมิ
ในทริปนี้เราแวะขึ้นมาชมพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าบนพื้นที่อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ที่ลานหินงาม ลานที่ความงามเกิดจากธรรมชาติรังสรรค์นับล้านปี โดยลมและฝนกัดเซาะจนหินทราย กลายเป็นรูปทรงแปลกตามากมาย
มาถึงอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ชัยภูมิแล้ว ต้องมาที่บริเวณผาสุดแผ่นดิน เพราะจุดนี้เราจะได้เห็นวิวสวยงามของเทือกเขาพังเหย และพื้นที่ป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จังหวัดลพบุรี อากาศที่ว่าร้อน ทว่าบนนี้กลับเย็นสบายทีเดียว
มาถึงอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ชัยภูมิแล้ว ต้องมาที่บริเวณผาสุดแผ่นดิน เพราะจุดนี้เราจะได้เห็นวิวสวยงามของเทือกเขาพังเหย และพื้นที่ป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จังหวัดลพบุรี อากาศที่ว่าร้อน ทว่าบนนี้กลับเย็นสบายทีเดียว

หากใครที่สนใจอยากมาเยี่ยมชมวิถีชุมชนชาวญัฮกุร สามารถติดต่อได้ที่ผู้ประสานงานท่องเที่ยวชุมชนญัฮกุร สุรดา บัวเปีย โทร. 0918425391 หรือผ่าน เพจ  ญัฮกุร ชัยภูมิ หากสนใจกิจกรรมพิเศษ ค่ายเรียนรู้ดนตรี ศิลปะวัฒนธรรมกับธรรมชาติ ขอข้อมูลเพิ่มเติมที่ ณฤต เลิศอุตสาหกูล (เต้าหู้) โทร. 08-6602-6366 หรือติดตามรายละเอียดชุมชนได้ที่ เพจตุ้มโฮมเฮียนฮู้ เมืองชัยภูมิ

EXPLORERS: ตู่, ต้น, เฟี้ยต
AUTHOR: ไตรรัตน์ ทรงเผ่า
PHOTOGRAPHER: ศุภกร ศรีสกุล

ไตรรัตน์ ทรงเผ่า

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *