Type and press Enter.

ราตรีนี้ที่ยูนนาน

ตามนักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน

งานเลี้ยงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย ดอยที่มีความโดดเด่นในเรื่องอากาศเย็น และชารสชาติดี

การเดินทางครั้งนี้ นับว่าเป็นเรื่องโชคดีก่อนหมดปีเก่า กับทริปเคาท์ดาวน์บนดอยจิ่งม่าย ดอยที่มีอากาศเย็นตลอดทั้งปี ทั้งยังขึ้นชื่อเรื่องของความงดงามราวกับสวรรค์บนพื้นดิน และยังเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมอีกด้วย

ทริปนี้เริ่มต้นด้วยการนั่งรถไฟจีน-ลาว (China-Laos Railway) มีเป้าหมายคือการไปจิบชาพันปี ชื่นชมชมดอกซากุระท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ไปพร้อมกัน

ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ชมวิวสองข้างทางบนขบวนรถไฟจีน-ลาว

เดินทาง

ยามเช้ากลางฤดูหนาวในนครคุนหมิง เรานั่งรถไฟจีน-ลาวออกเดินทางจากสถานีคุนหมิงมุ่งหน้าตรงไปสู่เมืองผูเอ่อร์ ตั้งอยู่ทางใต้ของมณฑลยูนนาน โดยรถไฟขบวนนี้จะแล่นไปตามรางด้วยพลังงานไฟฟ้าเงียบสนิท มีวิวสองข้างทางที่สวยงามเป็นที่พักสายตา ทำให้เราลืมความวุ่นวายในเมืองกรุงไว้เบื้องหลัง

เมื่อเดินทางถึงสถานีรถไฟผูเอ่อร์เวลาประมาณเที่ยงค่อนไปทางบ่าย นี่คือจุดเริ่มต้นของการเดินทางสำหรับทริปนี้  จากตัวเมือง เรานั่งรถขึ้นทางด่วน มุ่งหน้าตรงไปยังตัวตำบลฮุยหมิน โดยมี “ดอยจิ่งม่าย” ซึ่งเป็นหมุดหมายปลายทางของเรา ทันทีที่มาถึงเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์อำเภอฯ ได้ออกมาคอยต้อนรับเราอย่างอบอุ่น ก่อนพาไปเยี่ยมชมศูนย์มรดกและคุณค่าเกี่ยวกับวัฒนธรรมชาดอยจิ่งม่าย (พิพิธภัณฑ์ชาดอยจิ่งม่าย) ครั้งแรกที่ได้ยินชื่อ บอกตามตรงว่าไม่น่าสนใจเลย เพราะเราอยากมาชื่นชมธรรมชาติมากกว่า ไม่ได้มาชมพิพิธภัณฑ์ และแอบคิดว่าพิพิธภัณฑ์ในตัวอำเภอจะน่าดูเหรอ เป็นคำถามที่วนเวียนอยู่ในหัว แต่ไหน ๆ มาถึงแล้ว ก็ต้องเปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ กับเขาสักหน่อย เพื่อจะได้รู้ความเป็นมาของพื้นที่ที่เรามาเยี่ยมเยือนแห่งนี้มากขึ้นกว่าเดิม

ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
บนชั้นสองของพิพิธภัณฑ์ชา มีการจัดแสดงเครื่องปั้นดินเผาและภาพถ่าย
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
มุมจัดแสดงให้ความรู้เรื่องชา และอุปกรณ์เครื่องใช้เกี่ยวกับชา
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ข้าวของเครื่องใช้ของชาวชนเผ่าต่าง ๆ บนดอยจิ่งม่าย บางอย่างคล้ายกับของบ้านเราเลย
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ข้าวของเครื่องใช้ของชาวชนเผ่าต่าง ๆ บนดอยจิ่งม่าย บางอย่างคล้ายกับของบ้านเราเลย

จากที่พักเราเดินเท้าไปยังศูนย์ฯ หรือพิพิธภัณฑ์ชาดอยจิ่งม่าย ระหว่างทางจะได้พบกับต้นชาที่ปลูกอยู่ตลอดสองข้างทางที่แสนร่มรื่น เดินไปไม่ถึง 10 นาที ก็จะพบกับตึกรูปร่างทันสมัยอยู่ตรงหน้า ซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ชาดอยจิ่งม่าย ภายในพิพิธภัณฑ์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ มีภาพประกอบและการจัดแสดงที่สวยงาม ทำให้เราลืมความเหนื่อยล้าไปเลย ไม่ต้องสงสัยว่า ทำไมเจ้าหน้าที่ถึงพาเรามาที่นี่ เพราะเราได้ปูพื้นฐานความรู้มากมายเกี่ยวกับวัฒนธรรมชาที่สอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของชนชาติกลุ่มน้อยบนดอยจิ่งม่าย บริเวณตรงนี้ถือเป็นเสาหลักใจกลางหมู่บ้านของชนชาติปู้ลั่ง อันเป็นที่พึ่งพาจิตใจของชนเผ่า ด้านนี้จัดแสดงถึงระบบนิเวศของชา เป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่า ที่ไหนมีชา ที่นั่นจะมีต้นไม้ใหญ่คอยให้ร่มเงา

ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นบ้านเรือนของชนชาติไทลื้อ และชนชาติปู้ลั่ง จะเห็นว่าทุกบ้านมีสัญลักษณ์ตรงจั่วหลังคา ที่เราสามารถแยกแยะได้ว่าบ้านหลังไหนเป็นของชนชาติไหน หากจั่วหลังคาเป็นรูปเขาวัว ก็คือชนชาติไทลื้อ แต่ถ้าเป็นยอดชาสามแฉก จะเป็นเรือนของชนชาติปู้ลั่ง เราได้รับความรู้มากมายจากการเดินชมพิพิธภัณฑ์ชาดอยจิ่งม่าย และพรุ่งนี้จะเป็นการทดสอบความรู้ของเรากับสนามสอบจริงค่ะ

ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ดวงอาทิตย์ยังขึ้นจากขอบฟ้าไม่สุดสังเกตได้จากแสงที่ตกกระทบยอดเจดีย์ทอง
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
และเมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า แสงตกกระทบยอดเจดีย์ทอง พร้อมทั้งเห็นทะเลหมอกเป็นชั้น ๆ งดงามมาก
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
มองจากจุดชมวิวบนยอดดอยจิ่งม่าย สวยเหมือนทะเล

ขึ้นดอยชมทะเลหมอกยามพระอาทิตย์ขึ้น

เวลา 7 โมงเช้า  ฟ้าที่นี่ยังมืดอยู่ ดวงอาทิตย์ยังไม่ออกทำงาน ขณะที่บริเวณหน้าโรงแรมที่เราพักบรรยากาศยามเช้าเต็มไปด้วยสายหมอก นี่ขนาดยังไม่ทันขึ้นดอย หมอกก็มาคอยต้อนรับเราแล้ว

ว่าแล้วอย่ารีรอ ขึ้นดอยกันเถอะ! เดี๋ยวจะไม่ทันดูดวงอาทิตย์ขึ้น โดยระยะทางจากตัวตำบลขึ้นไปบนดอยเวลานี้ ยังคงมืดมิด เรานั่งรถไปได้สักครึ่งชั่วโมง บรรยากาศก็เริ่มสว่างขึ้นทีละนิด ๆ ภาพที่ปรากฏตรงหน้า คือข้างทางซึ่งเป็นไหล่เขาคล้ายกับมีแม่น้ำไหลผ่าน แท้จริงแล้วไม่ใช่ แต่คือหมอกหนา ๆ ต่างหาก เราตื่นเต้นกันมาก เพราะนอกจากไหล่เขา และทะเลหมอกแล้ว ทิวทัศน์จะสลับกับบ้านเรือนไม้ที่มีฉากหลังเป็นทะเลหมอก

นั่งรถเรื่อย ๆ เราก็ไปถึงจุดชมวิวดอยจิ่งม่าย ซึ่งเป็นตัวอาคารทันสมัย 3 ชั้น เราค่อย ๆ เดินขึ้นบันไดไปยังชั้น 3 ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของอาคาร และแน่นอนว่าฉากที่เห็นอยู่ตรงหน้า คือทะเลหมอกหนา ๆ แม้จะเป็นเวลา 8 โมงเช้า แต่ดวงอาทิตย์ยังไม่ขึ้น เรารีบจับจองหามุมถ่ายภาพกัน พอถึงเวลา 08.16 น. ดวงอาทิตย์มาตามนัดหมาย แสงสีทองสาดส่องลงมา ทำให้เราเห็นความงดงามของสายหมอกชัดเจนขึ้น

เมื่อหมอกจางลง เบื้องหน้าค่อย ๆ ปรากฏหมู่บ้านไกลลิบ ก่อนหน้านี้ไม่มีวี่แววเลยว่า ตรงนั้นจะมีหมู่บ้านอยู่ด้วย คนท้องถิ่นเล่าให้เราฟังว่า ทะเลหมอกบนดอยจิ่งม่าย จะมีให้เราชมได้ตั้งแต่เดือนกันยายนไปจนถึงเดือนเมษายนของปีถัดไป ส่วนช่วงนี้ซึ่งเป็นเดือนธันวาคม ถ้าใครอยากดูดวงอาทิตย์ขึ้น ควรมาถึงบนดอย และรอเวลาประมาณ 8 โมงค่ะ โดยสามารถชมทะเลหมอกได้จนถึงเที่ยงเลย

ประมาณ 9 โมง เราจะเห็นหมอกเป็นชั้น ๆ ไปจนถึง 10 – 11 โมง ชั้นหมอกจะเริ่มชัดเจน เรียกได้ว่าที่นี่เวลาไหน ๆ หมอกก็สวยงาม แต่ระดับความสวยงามจะแตกต่างกัน เราปล่อยให้เวลาของความสุขไหลไปพร้อมกับสายหมอก จนเวลาล่วงเลยมาถึงเวลาบ่าย ยิ่งทำให้เรารู้ว่าบ่ายแล้ว หมอกก็ยังอยู่กับเรา ที่สำคัญคือการมาเที่ยวครั้งนี้ เราได้คำตอบว่าทำไมถึงเปรียบสายหมอกเหมือนกับ “ทะเล” เพราะว่าสายหมอกได้ทอดยาวไปไกลสุดสายตาราวกับทะเลจริง ๆ

ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
มุมสูงของป่า ที่มีซากุระสีชมพูขึ้นแซมสลับกับสีเขียว
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ซากุระท่ามกลางป่าชา ละมุนละไม หลายคนถามว่ากลิ่นของซากุระเป็นอย่างไร ตอบเลยว่า “ซากุระไม่มีกลิ่น หากแต่ว่าเราใช้ตา และใจสัมผัสถึงได้ เกิดเป็นความรู้สึกรับรู้ว่าหอมมาก”
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ซูมให้เห็นใกล้ ๆ ว่าสวยงามแค่ไหน

ชมดอกซากุระท่ามกลางไร่ชา

ไร่ชาโบราณสีเขียว ปลูกตามไหล่เขา บางต้นเล็ก บางต้นใหญ่ ไร่ชาที่นี่จะแตกต่างจากไร่ชาที่เราเคยเห็น เพราะไม่ได้ปลูกเรียงราย และถูกตัดแต่งให้เป็นระเบียบ หากแต่ขึ้นกระจัดกระจายไปตามภูเขา และไร้การตัดแต่งกิ่งก้าน ซึ่งนี่คือหลักการปลูกชาของชนชาติบนดอยจิ่งม่าย โดยชาวบ้านจะไม่นิยมตัดแต่งกิ่งชา แต่จะปล่อยให้ขึ้นตามธรรมชาติ ไม่มีการใช้สารฆ่าแมลง ไม่ต้องบำรุงด้วยปุ๋ย ปล่อยให้ต้นชาเติบโตตามธรรมชาติ และปล่อยให้แมลงมากินใบชาบ้าง เพราะถือว่าเป็นระบบนิเวศที่ทุกอย่างต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

จากจุดชมวิวทะเลหมอกดอยจิ่งม่าย เราขับรถผ่านหมู่บ้านต่าง ๆ ซึ่งจะมีทะเลหมอกตลอดทาง จนกระทั่งถึงป่าชาซากุระ ต้นชาสีเขียวที่ขึ้นแซมไปกับต้นซากุระที่กำลังออกดอกเป็นสีชมพู มองแล้วช่างตัดกันดูสวยงาม เราจอดรถเป็นระยะเพื่อหาจุดถ่ายรูป หากคุณโชคดี นอกจากจะเห็นดอกซากุระแล้ว เรายังจะเห็นต้นไม้ไร้ใบ และมีดอกสีขาวเต็มต้น เจ้าหน้าที่บอกว่า นี่คือต้นดอกสาลี่ ซึ่งสวยงามไม่แพ้ซากุระเลย ฤดูนี้นอกจากดอกซากุระและดอกสาลี่แล้ว ต้นชาเขียว ๆ จะออกดอกด้วย โดยดอกชาจะเป็นสีขาว มีเกสรสีเหลืองอ่อน ๆ ส่งกลิ่นหอมคล้ายน้ำผึ้ง นอกจากจะชมด้วยสายตา ดอมดมด้วยจมูกแล้ว สามารถเด็ดดอกชาไปแช่น้ำร้อนดื่มได้เช่นกัน ชาจากดอกชาส่งกลิ่นหอมเย้ายวลไม่ใช่เล่น สำหรับการชมชาในป่าซากุระ แนะนำให้หาโดรนมาบิน จะทำให้เราได้สัมผัสมุมมองแบบ Bird’s-eye view ที่สวยไปอีกแบบหนึ่ง

ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ท่ามกลางซากุระ ยังมีต้นไม้ไร้ใบ ไม่ใช่ใครที่ไหน นี่คือต้นสาลี่ที่กำลังออกดอกสีขาว แข่งกันโชว์ความงามกับดอกซากุระ
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
รูปทรงมีความคล้ายดอกซากุระเหมือนกัน จะต่างกันก็ตรงสีสัน
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
มุมสูงของป่า ที่มีซากุระสีชมพูขึ้นแซมสลับกับสีเขียว
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
กลิ่นหอมของดอกชา ช่างเย้ายวนใจนัก โดยดอกไม้ที่เห็นอยู่ในมือนี้ เราสามารถนำไปต้มดื่มได้
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ต้นนางพญาผึ้ง สูงมาก
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ต้นนางพญาผึ้ง สูงมาก
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
บ้านเรือนของชนชาติไทลื้อ และชนชาติปู้ลั่ง
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ไม่แน่ใจว่าต้นอะไร แต่สวยมาก หนึ่งต้นออกดอกหลายสี
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
แต่งชุดไทยขึ้นดอย เพื่อมาชมดอกไม้โดยเฉพาะ
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ในหมู่บ้านเกือบทุกบ้านจะวางชาขายกันแบบนี้ตลอดทาง
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
หากไม่ซื้อชา เราสามารถหยิบกล้วยมากินฟรีได้นะ
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน

หมู่บ้านนั่วกานชมวิถีชีวิตชนเผ่าไทลื้อ

เราแวะพักรับประทานอาหาร มีธีมสารพัดใบชาเป็นจุดขาย ไม่ว่าจะเป็นไข่เจียวใบชา ซุปใบชา และอีกสารพัดใบชา เมื่ออิ่มท้องแล้ว เราออกเดินทางต่อไปยังหมู่บ้านนั่วกาน เพื่อชมวิถีชีวิตชนเผ่าไทลื้อ

จากที่จอดรถเราเดินขึ้นไปตามทางลาดชัด มุ่งหน้าไปจุดชมวิวของหมู่บ้าน จากที่นี่เราจะเห็นหลังคาบ้านสีดำเรียงรายต่อกันอยู่ในเวิ้ง หรือแอ่งภูเขา ไกลออกไปมีสีทองของวัดประจำหมู่บ้านปรากฏอยู่ จุดนี้ไม่รู้จะบรรยายอย่างไรดี เพราะวิวหลังคาที่เคยเห็นที่ลี่เจียงว่าสวยแล้ว ที่นี่สวยยิ่งกว่า

หลังจากที่เราเก็บภาพมุมสูงของหมู่บ้านได้ประมาณหนึ่งแล้ว ก็เดินไปชมหมู่บ้านกันต่อ เพราะมีบททดสอบรออยู่ จั่วหลังคามีเขาวัว แสดงว่าเป็นชนชาติไทลื้อของแท้แน่นอน เรียกว่าทุกบ้านมีเขาวัวกันทุกหลัง ลักษณะบ้านเรือนของหมู่บ้านนั่วกานจะเป็นไม้ และมีใต้ถุนคล้ายบ้านทรงไทย บ้างก็ยังคงเลี้ยงสัตว์ใต้ถุนบ้าน ส่วนชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัย

ปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้ ได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ดังนั้นชาวบ้านจะนำชา และผลิตภัณฑ์พื้นบ้านออกมาวางขาย ก้าวแรกเมื่อมาถึงปากทางเข้าหมู่บ้าน เราจะได้ยินเสียงเชิญชวนให้เข้ามาดื่มชา ดื่มจากบ้านนี้ ไปบ้านนั้น ดื่มจนทั่วหมู่บ้าน ไม่ต้องเสียสตางค์ โดยชาวบ้านไม่ได้รู้สึกตำหนิคุณเลยที่เข้ามาดื่มชา และไม่อุดหนุนซื้อชาของเขา จากการสอบถามชาวบ้าน พวกเขากับรู้สึกยินดีที่เราเข้าไปดื่มชา เปรียบเสมือนคนจากแดนไกลมาเยี่ยมเยือน ก็ต้องยกชามาต้อนรับให้เต็มที่ ใครเป็นคอชาละก็ บอกเลยว่า ดอยจิ่งม่าย แห่งนี้ คือสวรรค์สำหรับคุณอย่างแท้จริง นอกจากดื่มชาแล้ว เรายังสนุกสนานด้วยการใช้ภาษาไทยสื่อสารกับชาวบ้านได้ด้วย เพราะหลายคำคล้ายกับภาษาไทยค่ะ

ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
วัดเจดีย์ทอง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของคนที่นี่ ทุกคนมารวมตัวกันรอเคาท์ดาวน์
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
อาหารธรรมดา ๆ กับวิวไม่ธรรมดา
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
บรรยากาศงานเลี้ยงโต๊ะยาว
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
บรรยากาศงานเลี้ยงโต๊ะยาว
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน

งานเลี้ยงโต๊ะยาวบนวัดเจดีย์ทอง

ค่ำนี้เราฝากท้องที่เจดีย์ทอง เนื่องจากช่วงที่เราไปเผอิญเป็นช่วงจัดเทศกาลชมดอยเคาท์ดาวน์พอดี ดังนั้นดอยจิ่งม่ายจึงมีงานรื่นเริงที่จะจัดขึ้นที่เจดีย์ทอง ก่อนเข้างาน ณ ประตูทางเข้า คุณสามารถซื้อบัตรรับประทานอาหาร ราคา 38 หยวน โดยนำบัตรมาแลกอาหาร ตะเกียบ พร้อมกับถ้วยพลาสติก ก่อนนำไปนั่งรับประทานยังโต๊ะที่จัดเตรียมไว้ งานเลี้ยงโต๊ะยาวที่บอกนี้ คือจะมีโต๊ะน้อยคล้ายสำรับกินข้าวของทางเหนือ แต่ใหญ่กว่าเล็กน้อย ตั้งเรียงรายเป็นแถวยาว โดยแต่ละโต๊ะมีอาหารที่ไม่เหมือนกัน และคุณสามารถไปตักรับประทานได้ทุกโต๊ะ อธิบายง่าย ๆ คือบุฟเฟต์นั่นเองค่ะ อาหารส่วนใหญ่จะเป็นอาหารชนชาติไต หรือไทยใหญ่ มีใบตองใช้สำหรับห่ออาหาร ส่วนรสชาติของอาหารมีทั้งเปรี้ยว เผ็ด หวาน มัน

เมื่ออิ่มท้องแล้ว ก็เริ่มงานเต้นรำวงรอบกองไฟ เริ่มจากเพลงที่บรรเลงโดยใช้เครื่องดนตรีอย่าง ฆ้อง กับจังหวะดนตรีแบบ

ม่อง เท่ง ม่อง (เฮ้ย! นี่เราอยู่ที่ไทย หรือดอยจิ่งม่ายกันนะ) เราเห็นชาวบ้านเริ่มรำวงเป็นวงกลม โดยมีฉากหลังเป็นเจดีย์ทอง จบจากเพลงนี้ ต่อด้วยเพลงนั้น ส่วนท่าทางการรำจะขึ้นอยู่กับคนนำรำ ซึ่งจะอยู่ในตำแหน่งหน้าสุด เขารำอะไร คนที่ต่อแถวด้านหลังก็รำตามด้วยท่ารำที่ไม่ยากมากนัก เราจึงเข้าไปร่วมรำด้วยอย่างสนุกสนาน

เวลาเริ่มคล้อยไปถึงตอนค่ำ พิธีกรได้ประกาศว่างานราตรีในค่ำคืนนี้กำลังจะเริ่มขึ้น ทุกคนต่างก็รีบหยิบม้านั่งตัวเตี้ย กรูกันไปที่หน้าเวที ดูการแสดงของชนชาติกลุ่มน้อย ผลัดเปลี่ยนการแสดงไปแต่ละหมู่บ้าน เสียดายที่พรุ่งนี้เรามีโปรแกรมต่อ ดังนั้นจึงไม่ได้ดูการแสดงจนจบ

ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
กินเลี้ยงเสร็จ ก็มาขยับแข้งขยับขาจะได้ไม่ลงพุง
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
บ้านของชนเผ่าปู้ลั่ง
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
บางหลังปรับปรุงให้เป็นพื้นที่ขายชา
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
นอกจากดื่มชาแล้ว การสูบใบยาก็เป็นความสุขอย่างหนึ่งของชาวบ้านที่นี่
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
วัดโบราณ ประจำหมู่บ้านเวิงจี
ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
จั่วหลังคา มีใบชาสามแฉก นี่แหละบ้านของชาวปู้ลั่ง

บรรยากาศยามเช้าที่หมู่บ้านเวิงจี

หลังจากดื่มด่ำไปกับอาหารประจำถิ่น และความบันเทิงของบรรยากาศการฟ้อนรำเมื่อคืนที่เจดีย์ทอง เช้านี้เรามีแผนจะเดินทางท่องเที่ยวต่อ ด้วยการขึ้นดอยกันตั้งแต่ 7 โมงเช้า เหมือนเดิม เพื่อไปเลือกหามุมถ่ายรูปทะเลหมอก ดอยจิ่งม่ายช่างมีเสน่ห์เสียนี่กระไร เราไม่สามารถหยุดถ่ายภาพได้เลย แต่จะมัวแต่ถ่ายภาพอย่างเดียวไม่ได้  เพราะเรามีจุดหมายอย่าง หมู่บ้านเวิงจี หรือเรียกเป็นชื่อภาษาไทยว่า หมู่บ้านวงศ์กิด ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชนชาติปู้ลั่งรออยู่

หมู่บ้านแห่งนี้ปลูกเรียงรายตามไหล่เขา ยามเช้ามีหมอกสีขาวล่องลอย ให้วิวที่ชวนผ่อนคลาย คล้ายกับที่นี่เป็นหมู่บ้านที่ผุดขึ้นกลางเมฆหมอก บททดสอบต่อไปของเราคือชนชาติปู้ลั่ง มีจุดสังเกตบ้านเรือนของชาวปู้ลั่ง จะต้องมีใบชาบนจั่วหลังคา ใช่แล้วค่ะ บ้านทุกหลังของที่นี่ จั่วหลังคาจะมีใบชาอยู่จริง ๆ ด้วย เราเดินไปใจกลางหมู่บ้าน สังเกตเห็นเสาหลักบ้าน อย่างที่เจ้าหน้าที่ในพิพิธภัณฑ์เล่าไว้จริง ๆ

วิถีชีวิตของผู้คนที่นี่จะคล้าย ๆ กับหมู่บ้านนั่วกานชนชาติไทใหญ่ มีชีวิตที่เรียบง่าย และอยู่คู่กับชา ผ่านไปบ้านไหนก็มีคนเรียกให้เข้าไปดื่มชา มองไปทางไหนก็ถ่ายรูปสวย ใครอยากมาสัมผัสบรรยากาศแบบนี้บ้าง ขอกระซิบว่าให้เตรียมเมมโมรี่การ์ดไปเยอะ ๆ นะคะ เพราะมีเท่าไหร่ก็ไม่พอจริง ๆ เยี่ยมชมหมู่บ้านเสร็จแล้ว เราก็เดินข้ามถนนไปอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดประจำหมู่บ้าน ดูแล้วขลังมาก ๆ จะว่าไปก็คล้ายกับวัดทางภาคเหนือของไทยเราอยู่เหมือนกัน โดยในวัดจะมีต้นไม้ 2,500 ปี รอให้เราไปชื่นชม ทำให้รู้ว่าดอยจิ่งม่ายมีต้นไม้ใหญ่มากมายเต็มไปหมด ใครชอบความเย็น ชอบหมอก ชอบต้นไม้ มาที่นี่มีครบ

ส่งท้าย

สำหรับทริปเคาท์ดาวน์บนดอยจิ่งม่าย สวรรค์บนดิน มรดกโลกทางวัฒนธรรมแบบนี้ ถ้าใครมีเวลาแนะนำให้มาสัก 7 วัน ใช้ชีวิตช้า ๆ ไปตามหมู่บ้าน จิบชาตามบ้าน เดินเล่น คุยกับสายลม ทักทายต้นไม้พันปี เราว่าธรรมชาติแบบนี้แหละ ทำให้เราอำลาปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ด้วยพลังแห่งความสุขที่หาได้ยากในปัจจุบัน

การเดินทาง

1. โดยสารเครื่องบินจากกรุงเทพฯ – คุนหมิง แวะพักที่คุนหมิง 1 คืน เช้าวันรุ่งขึ้นนั่งรถไฟจีน-ลาว เพื่อเดินทางต่อไปยังเมืองผูเอ่อร์ หรือสามารถโดยสารเครื่องบินจากคุนหมิงไปลงที่สนามบินจิ่งม่าย เมืองผูเออร์ก็ได้เช่นกัน

2. โดยสารรถไฟจีน-ลาว จากกรุงเวียงจันทน์ มาลงที่สถานีรถไฟบ่อหาน แล้วเปลี่ยนขบวนเป็นรถไฟสายในประเทศจีน เพื่อไปยังจุดหมายปลายทางสถานีผูเออร์

เกี่ยวกับดอยจิ่งม่าย

“ดอยจิ่งม่าย” เพิ่งได้รับขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม (ชา) สามารถเดินทางมาเที่ยวได้ไม่ยาก เพราะอยู่ใกล้กับประเทศไทย เดินทางได้ทั้งรถไฟจีน-ลาว หรือเครื่องบิน จากตัวเมืองนั่งรถไปยังตำบลราว 2 ชั่วโมง จากตำบลขึ้นไปบนดอยอีกราว ๆ 1 ชั่วโมง แม้จะใช้เวลายาวนาน แต่เมื่อไปถึงแล้วขอบอกว่า คุ้มค่าสุด ๆ แน่นอนค่ะ เพราะเหมือนหลุดไปอยู่อีกโลก (ค่ารถเช่าพร้อมน้ำมันประมาณ 800 หยวน/ต่อวัน ที่พักแล้วแต่จะเลือกค่ะ ส่วนมากเป็นเกสต์เฮ้าส์ บรรยากาศคลาสสิก

AUTHOR: แป้น – จารุวรรณ อุดมทรัพย์
PHOTOGRAPHERS: ภาพประกอบ: เจียงเทา, ต้วน หง ฉวี, ลูเล่ย, จารุวรรณ อุดมทรัพย์ และอรุณี อนุสุริยา

ดอยจิ่งม่าย ตาม แป้น - ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ (JARUWAN UDOMSAB) นักวิจัยและผู้ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ไทยจีน นั่งรถไฟจีน-ลาวไปจิบชาพันปี ชมดอกซากุระบานท่ามกลางไร่ชาโบราณ สัมผัสทะเลหมอก ศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย และร่วมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บนดอยจิ่งม่าย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน

ชีวิตคือการทำงาน ท่องเที่ยวคือการให้รางวัลกับชีวิต

แป้น – ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ หญิงไทย พักอาศัยอยู่ที่นครคุนหมิง มณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เธอได้ทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีคุนหมิง ระดับปริญญาโท และปริญญาเอก เป็นหญิงไทยที่ชื่นชอบในประเพณีและวัฒนธรรม อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม การพัฒนาทางสังคม บอกเล่าเรื่องราวของจีนผ่านภาษาไทย ปัจจุบันเป็นนักวิจัยด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ประจำ Kunming Hitech Software & Information Security Testing Laboratory และเจ้าหน้าที่การสื่อสารระหว่างประเทศของศูนย์การสื่อสารระหว่างประเทศเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งอวิ๋นหนาน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *