Type and press Enter.

ขันลงหิน มรดกสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์

เยี่ยมโรงงานขันลงหินเจียม แสงสัจจา ไปชมกระบวนการสุดหินของช่างฝีมือ ในการทำขันลงหิน มรดกสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ควรค่าอนุรักษ์ ที่ค่อย ๆ หายากเข้าไปทุกขณะ

จากตลาดไร้คาน เดินเข้าไปนิดเดียว เราจะได้เห็นอีกหนึ่งประวัติศาสตร์ที่ยังมีลมหายใจ ในโรงงานขันลงหินเจียม แสงสัจจา ได้เห็นความละเมียดละไมของงานฝีมือแห่งชุมชนบ้านบุแท้ ๆ

บ้านบุ คือแหล่งทำขันลงหินแห่งเดียวในประเทศไทย โดยต้นตระกูลอพยพหนีกรุงศรีอยุธยา มาตั้งรกรากที่บางลำพูเป็นที่แรก ก่อนย้ายมายังบ้านบุจนถึงปัจจุบัน  

งานขันลงหิน อุตสาหกรรมในครัวเรือนที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
กระบวนการหล่อโลหะ
โรงงานขันลงหินเจียม แสงสัจจา แหล่งทำขันลงหินแห่งเดียวในประเทศไทย
โรงงานขันลงหินเจียม แสงสัจจา แหล่งทำขันลงหินแห่งเดียวในประเทศไทย

งานขันลงหิน เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยนั้นนิยมใช้ในหมู่ข้าราชการหรือขุนนางมากกว่าในหมู่ราษฎร มักใช้เป็นขันน้ำมนต์ ใช้ตักน้ำดื่ม หรือใช้ในพิธีมงคลต่าง ๆ การทำขันลงหินในสมัยโบราณจะใช้ทองม้าล่อจากเมืองจีน ปัจจุบันวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตขันลงหินจะประกอบด้วย ทองแดง ดีบุก และสำริดเท่านั้น ซึ่งกว่าจะมาเป็นขันลงหินที่สวยวิจิตรได้อย่างที่เห็นนั้น ข้อมูลจากสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) ระบุว่าต้องใช้ช่างฝีมือถึง 6 ช่างใน 6 กระบวนการ ประกอบด้วย

‘ช่างตี’ แห่งโรงงานขันลงหินเจียม แสงสัจจา ผู้รับหน้าที่นี้ต้องมีประสบการณ์บวกกับทักษะในการผสมโลหะและการตีโลหะอย่างช่ำชอง ช่างตีจึงนับว่าเป็นหัวใจสำคัญในกระบวนการขึ้นรูปขันลงหินก็ว่าได้
ช่างตี
‘ช่างตี’ แห่งโรงงานขันลงหินเจียม แสงสัจจา ผู้รับหน้าที่นี้ต้องมีประสบการณ์บวกกับทักษะในการผสมโลหะและการตีโลหะอย่างช่ำชอง ช่างตีจึงนับว่าเป็นหัวใจสำคัญในกระบวนการขึ้นรูปขันลงหินก็ว่าได้
กระบวนการสำคัญของช่างตี ผู้รับหน้าที่นี้ต้องมีประสบการณ์บวกกับทักษะในการผสมโลหะและการตีโลหะอย่างช่ำชอง

‘ช่างตี’ ผู้รับหน้าที่นี้ต้องมีประสบการณ์บวกกับทักษะในการผสมโลหะและการตีโลหะอย่างช่ำชอง ช่างตีจึงนับว่าเป็นหัวใจสำคัญในกระบวนการขึ้นรูปขันลงหินก็ว่าได้ ต่อมาคือ ‘ช่างลาย’ ความยากของผู้รับหน้าที่ตีขัน คือการวางขันกับกระล่อน หรือแท่งเหล็กสำหรับรองพื้น แล้วค่อย ๆ หมุนและตีให้มีเนื้อผิวสม่ำเสมอทั้งขัน

ช่างลาย
ช่างลาย
ช่างลาย
ช่างลาย

ส่วนขั้นตอนต่อไปคือ ‘ช่างกลึง’ ผู้ทำหน้าที่กลึงผิวและขัดสีขันให้เรียบสม่ำเสมอกันด้วยภมร หรือเครื่องกรึง จากนั้น ‘ช่างกรอ’ จะเป็นผู้รับหน้าที่ตะไบปากขันให้มีความเรียบสม่ำเสมอ ก่อนส่งต่อ ‘ช่างเจียร’ ผู้ทำหน้าที่ปิดรอยตำหนิที่เกิดจากกระบวนการก่อนหน้า

ช่างกลึง
ช่างกลึง

และสุดท้ายคือ ‘ช่างขัด’ ผู้ทำหน้าที่เพิ่มความเงางามของขันลงหินให้สมบูรณ์ .โรงงานขันลงหินเจียม แสงสัจจา มรดกตกทอดจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ครั้งหนึ่งเคยแคล้วคลาดจากเหตุเพลิงไหม้ในชุมชนบ้านบุ เพราะไฟลุกลามไปไม่ถึงห้องเก็บอุปกรณ์ ส่วนจัดแสดงสินค้า และพื้นที่การผลิต ปัจจุบันเป็นดั่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ยังคงเปิดให้เราได้มาศึกษา และเรียนรู้เรื่องราวของงานหัตถกรรมที่นับวันยิ่งหาดูได้ยากขึ้นทุกที

ขันลงหิน ทั้งสวยงาม เงางาม เป็นเอกลักษณ์
ขันลงหิน ทั้งสวยงาม เงางาม เป็นเอกลักษณ์

EXPLORERS: ทีมงานบ้านและสวน Explorers Club
PHOTOGRAPHERS: ฤทธิรงค์ จันทร์ทองสุข, อนุพงษ์ ฉายสุขเกษม, นวภัทร ดัสดุลย์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *