Type and press Enter.

มิตรเอิร์ธ เพจที่ทำให้เรารู้จักและรักโลกที่สุดในโลก

คุยกับ สันติ ภัยหลบลี้ ผู้เขียนหนังสือ ‘Soft Quake: งานเขียนด้านธรณีวิทยาที่แอบนินทา “แผ่นดินไหว” แบบเบาๆ’ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแอดมินเพจ มิตรเอิร์ธ - mitrearth พื้นที่แบ่งปันความรู้ ข่าวสารและประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์โลก

“Earth science เป็นวิชายี้ ไม่มีใครอยากสอน!” คุยกับ ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เขียนหนังสือ ‘Soft Quake: งานเขียนด้านธรณีวิทยาที่แอบนินทา “แผ่นดินไหว” แบบเบาๆ’ และแอดมินหนึ่งเดียวของเพจ มิตรเอิร์ธ – mitrearth ผู้มีความสุขกับการเล่าเรื่องวิทยาศาสตร์โลก ให้เข้าใจง่ายและอ่านสนุก

เมื่อไม่นานมานี้ ผม (ผู้เขียน) มีโอกาสไปพายแคนูที่แม่น้ำน่าน สองฝั่งแม่น้ำมีธรรมชาติงดงาม บางช่วงมีลักษณะเหมือนแผ่นหินหนาๆ และหักเหมือนโดนกดทับ มีลักษณะเป็นเลเยอร์ซ้อนทับกัน บก.เจ-เจรมัย พิทักษ์วงศ์ ผู้นำทริปที่ลงเรือลำเดียวกับผมอธิบายว่า แผ่นหินลักษณะนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก อาจเกิดจากแรงดันใต้พื้นผิวโลก จนแผ่นหินหักเหมือนมีใครนำแผ่นหินนั้นมาปักในแนวเฉียง

หลังกลับจากน่านเจส่งเพจมิตรเอิร์ธให้ผมดู เป็นเพจที่แบ่งปันความรู้ ข่าวสารและประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์โลก เพจนี้เขาเขียนเรื่องยากๆ ให้อ่านเข้าใจได้ง่าย อย่างน้อยเวลาออกท่องโลกครั้งต่อไป เราจะได้เห็นโลกได้เต็มตาและเข้าใจมากยิ่งขึ้น นั่นจึงกลายเป็นที่มาของบทสัมภาษณ์แอดมินหนึ่งเดียวของเพจ ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

“Earth science เป็นวิชายี้ ไม่มีใครอยากสอน!” คุยกับ ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เขียนหนังสือ ‘Soft Quake: งานเขียนด้านธรณีวิทยาที่แอบนินทา “แผ่นดินไหว” แบบเบาๆ’ และแอดมินหนึ่งเดียวของเพจ มิตรเอิร์ธ - mitrearth ผู้มีความสุขกับการเล่าเรื่องวิทยาศาสตร์โลก ให้มิตรรักธรณีเข้าใจง่าย อ่านสนุก
นัดหมายพบเจอกันที่ภาควิชาธรณีวิทยา ในสายวันจันทร์ ก่อนวันวาเลนไทน์หนึ่งวัน

เรื่องราวในบทสัมภาษณ์นี้ ถ้าเป็นรายการออนไลน์ทั่วไป เชื่อว่ายอดวิวคงถล่มทลาย เพราะไม่มี กบว.มาคอยเซ็นเซอร์ ใครจะเชื่อว่านี่คือการพูดคุยกันระหว่างคนทำเพจไลฟ์สไตล์กับคนทำเพจวิทยาศาสตร์ คุยเรื่องโลกเรื่องวิทยาศาสตร์แบบสนุกโคตร ๆ บทความออนไลน์ชิ้นนี้ มีการแกะคำพูดปล่อยออกมาแบบดิบ ๆ อ่านแล้วอาจจะดูไม่ดี แต่มีบางคำที่ต้องคงจากที่คุยไว้ เพื่อให้เห็นถึงธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ของมุนษย์ จึงเรียนมาเพื่อความสนุกในการอ่าน

ทำไมถึงคิดอยากทำเพจเกี่ยวกับเรื่องโลก

“จริง ๆ มันคือวิชาชีพของผมนะ ในชีวิตจริงผมเป็นอาจารย์ประจำอยู่ที่ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ผมสอน earth science (วิทยาศาสตร์โลก) ปีๆ หนึ่งเรียนกันหลายร้อยคน แล้วข้อมูลที่มีอยู่นี้มันอยู่ข้างตัวผม เป็นสิ่งที่ผมสะสมมานานมากแล้ว เลยอยากเผยแพร่”

“โดยส่วนตัวผมทำงานเสร็จหมดแล้ว ไม่มีอะไรต้องห่วง ไม่มีอะไรต้องไขว่คว้าอีกแล้ว เลยมานั่งคิดว่าจะทำอะไรดีวะ ให้ข้อมูลที่มีอยู่ไม่เปล่าประโยชน์ เลยคิดทำเพจขึ้นมาเพื่อเป็นที่สำหรับปล่อยของ”

“Earth science เป็นวิชายี้ ไม่มีใครอยากสอน!” คุยกับ ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เขียนหนังสือ ‘Soft Quake: งานเขียนด้านธรณีวิทยาที่แอบนินทา “แผ่นดินไหว” แบบเบาๆ’ และแอดมินหนึ่งเดียวของเพจ มิตรเอิร์ธ - mitrearth ผู้มีความสุขกับการเล่าเรื่องวิทยาศาสตร์โลก ให้มิตรรักธรณีเข้าใจง่าย อ่านสนุก

ทำไมถึงเป็น มิตรเอิร์ธ

“มิตรเอิร์ธ ถ้าถามว่ามาจากไหน ผมเดินข้ามไปฝั่งตรงข้ามคณะ ไปตรงสามย่านมิตรทาวน์ ผมข้ามไปกินข้าวทุกวัน ตอบแบบไม่เอาเท่เลยนะ มาจากสามย่านมิตรทาวน์ ผมก็คิดง่ายๆ เอามิตรเอิร์ธแล้วกัน ก็เลยตั้งเป็นชื่อเพจ แค่นี้เลย”

“ส่วนจุดประสงค์ในการทำเพจนี้ ผมก็แค่อยากเอาของที่มีอยู่ออกมาแจก ผมคิดอย่างนี้จริงๆ เก็บไว้กับตัวเดี๋ยวแม่งก็เผาตายไปพร้อมตัวเรา ผมไม่เก็บ ผมแจกแหลก แจกเพราะว่ามันไม่ใช่เงิน แจกเหมือน duplicate (สำเนา) เนื้อหามันเป็นเรื่องที่ผมสอนอยู่แล้ว”

“Earth science เป็นวิชายี้ ไม่มีใครอยากสอน!” คุยกับ ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เขียนหนังสือ ‘Soft Quake: งานเขียนด้านธรณีวิทยาที่แอบนินทา “แผ่นดินไหว” แบบเบาๆ’ และแอดมินหนึ่งเดียวของเพจ มิตรเอิร์ธ - mitrearth ผู้มีความสุขกับการเล่าเรื่องวิทยาศาสตร์โลก ให้มิตรรักธรณีเข้าใจง่าย อ่านสนุก

ข้อมูลที่นำมาลงเป็นข้อมูลจากไหน

“เป็นข้อมูลที่ค้นคว้าเอง เป็นเรื่องที่เคยทำเก็บไว้ อย่างเรื่องแผ่นดินไหวนี่ก็เป็นเล่มหนึ่ง อีกเล่มคือเรื่อง earth science เดิมทีมันเป็นเรื่องราวที่ผมเตรียมไว้เพื่อทำเรื่องขอตำแหน่งศาสตราจารย์ แต่มีคนทักท้วงมาเรื่องการนำเสนอเนื้อหา ช่องโหว่มันจะเยอะเลยเปลี่ยนเรื่อง ฉะนั้นมันเลยมีข้อมูลที่ไม่ได้ใช้เก็บอยู่ในตู้พอสมควร ผมก็แจกให้หมด”

อาจารย์สอนเรื่องอะไรให้เด็กๆ

“ผมสอน earth science เด็กที่มาเรียนส่วนใหญ่เป็นเด็กจากครุศาสตร์ เมื่อเรียนจบแล้วพวกเขาจะได้มีวิชาและแนวทางไปสอนเด็กๆ อีกในลำดับต่อไป แล้วสิ่งที่ผมพบคือวิชา earth science โลก ดาราศาสตร์ อวกาศและภูมิศาสตร์ มันเป็นวิชายี้ คนที่จะไปสอนคืออาจารย์แก่ ๆ ที่ไม่มีปากมีเสียง และโดนดันให้ไปสอน หรือไม่ก็อาจารย์เด็ก ๆ ที่จบมาใหม่ เหมือนชิ่งขี้ให้กันเอาไปสอน นักเรียนก็เรียนไม่สนุก”

“ผมจึงบอกเด็กที่มาเรียนกับผมทุกรุ่นว่า ‘ผมมี material ครบหมด ถ้าไปสมัครงาน ไปเป็นครู ถ้าเขาถามว่าสอน earth science ได้ไหม ให้ตอบไปเลยว่าได้ เดี๋ยวกูให้มึงหมดเลย มึงไปสอนเลย’ นี่ก็คือจุดเริ่มต้นของผม ด้วยการให้เด็กๆ นักศึกษา”

“Earth science เป็นวิชายี้ ไม่มีใครอยากสอน!” คุยกับ ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เขียนหนังสือ ‘Soft Quake: งานเขียนด้านธรณีวิทยาที่แอบนินทา “แผ่นดินไหว” แบบเบาๆ’ และแอดมินหนึ่งเดียวของเพจ มิตรเอิร์ธ - mitrearth ผู้มีความสุขกับการเล่าเรื่องวิทยาศาสตร์โลก ให้มิตรรักธรณีเข้าใจง่าย อ่านสนุก

ถ้าพวกเขายี้ในเรื่องของ earth science โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศและภูมิศาสตร์ ในระบบการศึกษา แล้วเราเรียนไปเพื่ออะไร

“เขาไม่ได้เกลียดเรื่องราวครับ ที่เข้ายี้เพราะว่ามันเป็นเรื่องราวที่เขาไม่เข้าใจ แล้วไม่มั่นใจที่จะสอน และ material ในการสอนถือว่าลับแลมาก มันไม่เหมือน ฟิสิกส์ เคมี ชีวะที่จะหาข้อมูลได้เต็มไปหมดเลย อย่างถ้าจะไปสอนเรื่องภูเขาไฟ เราจะไปหาข้อมูลจากไหน เอารูปจากไหน”

ที่ภาควิชาธรณีวิทยา ในปีๆ หนึ่งมีผู้เข้าเรียนเยอะไหม เขาเข้ามาเพราะอะไร

“ที่ภาคธรณีวิทยา รุ่นๆ หนึ่งก็ 40 คนประมาณนี้ เขาเข้ามาเพราะอยากเรียนครับ อย่างที่ผมบอกว่า เรื่องราวของธรณีวิทยามีมีสตอรี่น่าสนใจ น่าเรียนมาก ไม่ใช่เข้ามาเพื่ออยากรู้อย่างเดียว แต่พวกเขาเข้ามาเพื่อวิชาชีพ วิชาชีพนักธรณีวิทยามันกว้าง ทำได้เยอะ อย่างเช่น ปิโตเลียมเหมืองแร่ (ประเทศเพื่อนบ้าน) บริษัทที่ปรึกษา งานสิ่งแวดล้อม งานวิศวกรรมงานฐานราก

เด็กชายสันติ ภัยหลบลี้ เป็นเด็กยังไง

“เอาแบบนี้เลยเหรอพี่! ผมเป็นคนที่จะเอาอะไร ผมจะต้องได้ ต้องไปถึงเป้าหมายให้ได้”

เด็กชายสันติเริ่มชอบเรื่องโลกตอนไหน

“ผมชอบตั้งแต่เด็กเลย แต่ตอนเรียนป.ตรี ผมเรียนฟิสิกส์ ผมรู้สึกเลยว่าไม่ใช่ ไม่ได้เลย มันไม่ใช่โลกของเรา ที่มาเรียนฟิสกส์ เพราะว่าตอน ม.ปลาย ผมได้คะแนนฟิสิกส์ดีมาก ได้ทุนมาเรียนก็เรียนไป พอเรียนได้ปีเดียวรู้เลยไม่ไหว แต่ก็เอาจนจบ ป.ตรี แล้ว ป.โท ป.เอก ผมมาเรียนที่ภาคธรณีฯ”

“ที่นี่มันเหมือนลิเกเนอะ มันน้ำเน่า และพูดกับใคร ๆ หลายคน จริง ๆ ผมไม่ได้มาไกลขนาดนี้หรอก ถ้าผมไม่ได้ชอบหรือรัก ผมแม่งโคตรรักธรณีเลยพี่ ที่ผมทำทุกวันนี้ ถ้าทุกคนสัมผัสได้ ก็จะสัมผัสได้ถึงแพสชั่นของผม ผมไม่ใช่เด็กเนิร์ด แต่ถ้าเป็นเรื่องธรณี ผมแม่งโคตรเนิร์ดเลย”

แล้วตอนเรียนฟิสิกส์ตอนนั้น เรียนได้ไหม

“ไม่ได้เลย ฟิสิกส์ ม.ปลาย กับฟิสิกส์มหาวิทยาลัย ไม่เหมือนกันอย่างชัดเจน แล้วก็สิ่งที่ผมค้นพบจากการมาเรียนฟิสิกส์ตอน ป.ตรี ก็คือ คนๆ นั้นจะเกิดมาเพื่อฟิสิกส์ คนที่เรียนฟิสิกส์ได้คือคนที่เกิดมาเพื่อเรียนฟิสิกส์ คนเก่ง คนขยันไม่มีทางเรียนฟิสิกส์ได้ ในมุมของผมนะ”

“ตัวอย่างเช่น มีชีทอยู่ 7 หน้า ผมอ่านจำได้ทุกตัวเลย แต่พอเข้าห้องสอบ ผมศูนย์ ในขณะที่เพื่อนอีกคนไม่เคยอ่านเลย แต่มันทำได้ เพราะมันเข้าใจสมการ แล้วสมการมันร้อยกันไปมามันเป็นความคิด และวิธีคิดของคนที่เกิดมาเพื่อฟิสิกส์ ผมจบแบบทุลักทุเลเลย แต่ตอนที่เรียนตอนปี 1 นั้นผมรู้ตัวแล้วว่าผมไม่ชอบฟิสิกส์ ผมมีเพื่อนเยอะเลยแวะมาที่ภาคธรณี เห็นแล้วก็ชอบถึงขั้นใช้คำว่าสนใจก็ได้ พอจบตรีปุ๊บผมก็พุ่งเป้ามานี่เลย ธรณีวิทยา”

เจิศจรัสที่ธรณีเลย

“ผมว่าผมเฉิดฉายเลยนะที่นี่ แต่ไม่ได้ฉายเพราะความเก่ง หรืออวดเก่งนะ แต่ฉายเพราะความรักในธรณี แล้วกับเรื่องที่ยากเขียนให้เข้าใจง่ายๆ อาจเป็นเพราะในวัยเด็กผมชอบเขียน ชอบแต่งกลอน มันเลยส่งผลให้มีการพัฒนาทักษะในการเขียนด้วย อันนี้คิดเองนะ ส่วนตัวเป็นคนพูดจาภาษาชาวบ้าน เวลาพูดให้เด็กฟัง”

การนำเสนอคอนเทนต์ที่อยู่ใน มิตรเอิร์ธ ก็จะเป็นอารมณ์เดียวกับตอนสอน

“ใช่เลยครับ ผมจะบอกเด็กๆ ทุกครั้งว่า เวลาจะออกไปสอน หรือไปพูดอะไรให้ใครเขาฟัง คือมึงต้องเล่าให้ฟัง ผมสอนด้วยการเล่า ถ้าจับเข่าคุยกันได้ก็จะทำ เวลาที่ผมรู้อะไรผมจะรู้แบบเข้าใจ พอรู้แบบเข้าใจมันจะไม่ต้องใช้ความพยายามในการเล่า”

“Earth science เป็นวิชายี้ ไม่มีใครอยากสอน!” คุยกับ ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เขียนหนังสือ ‘Soft Quake: งานเขียนด้านธรณีวิทยาที่แอบนินทา “แผ่นดินไหว” แบบเบาๆ’ และแอดมินหนึ่งเดียวของเพจ มิตรเอิร์ธ - mitrearth ผู้มีความสุขกับการเล่าเรื่องวิทยาศาสตร์โลก ให้มิตรรักธรณีเข้าใจง่าย อ่านสนุก

คนรอบข้างคิดกับเรายังไง

“ผมว่าพวกเขาชื่นชมนะ ผมมีแต่ให้นะครับพี่ มันจะแปลกมากถ้าผมให้ของแล้วมาตบหัวผม มันเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ครับ ‘ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก’ เรื่องไม่ดีมีเข้าหูบ้าง เราคิดได้ เรากรองได้ ตอนเด็กๆ เราก็เขี่ยผักเป็นอ่ะ ตอนนี้เราก็เขี่ยเป็นสิใช่ไหมครับ จริงๆ อยู่ที่ตัวเรานะว่าเราทำสิ่งที่ถูกที่ควรหรือเปล่า ถูกใจหรือเปล่าผมไม่รู้”

ทำเพจมากี่ปี

“น่าจะ 3 ปีนะครับ ผมโตแบบธรรมชาติ ไม่ได้เร่งสีเร่งกลิ่นอะไร เลยไม่ได้สนใจเรื่องยอด การติดตาม ผมตั้งใจทำข้อมูลเพื่อปล่อยของอย่างเดียวเท่านั้น”

ยอดติดตามเยอะหลักแสน มีผู้สนับสนุนบ้างหรือยัง

“(หัวเราะ) ขำขำนะพี่ ผมว่าผมโดนถีบให้มาเป็นพระนะ ผู้ให้ จริง ๆ ถ้ามีคนสนับสนุนมันก็ดี เราจะได้นำมาพัฒนา ต่อยอดได้ คำขอบคุณล้นเพจเลยพี่ ผมโอเคนะ ผมมีความสุข แบบความสุขจริง ๆ ผมไม่ได้เดือดร้อนเรื่องเงิน ไม่ได้รวย ผมใช้ชีวิตสมถะ แป๊บเดียวก็ตายแล้ว ทำแบบนี้มันสะใจในอารมณ์ดี ยังเคยคุยกับคนใกล้ตัวเลยว่า เกิดสักกี่ชาติวะถึงจะได้มาเป็นอาจารย์อีก เมื่อได้เป็นอาจารย์แล้วก็เอาแม่งให้สุดเลยดีกว่า ตายห่าไปจะได้ตายอย่างภูมิใจ”

ภาพประกอบเรื่องราวในเพจมาจากไหน

“ถ้าเป็นรูปการ์ตูน ผมจ้างเด็กวาด ช่วงหนึ่งผมจะทำหนังสือแล้วมันมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ ผมเลยตัดสินใจจ้างวาดใหม่เลย ส่วนแผนที่ตำแหน่งต่างๆ ผมทำเองครับ พูดง่ายๆ ว่าร้อยเปอร์เซนต์ผมทำเอง ไม่มีภาพจากต่างประเทศเลย  บางปี เด็กไม่มีเงิน ผมก็จ้างเด็กวาด กระจายรายได้”

“Earth science เป็นวิชายี้ ไม่มีใครอยากสอน!” คุยกับ ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เขียนหนังสือ ‘Soft Quake: งานเขียนด้านธรณีวิทยาที่แอบนินทา “แผ่นดินไหว” แบบเบาๆ’ และแอดมินหนึ่งเดียวของเพจ มิตรเอิร์ธ - mitrearth ผู้มีความสุขกับการเล่าเรื่องวิทยาศาสตร์โลก ให้มิตรรักธรณีเข้าใจง่าย อ่านสนุก

นอกจากชอบเรื่องธรณีวิทยาแล้ว ยังชอบโบราณคดีอีกด้วย

“ผมชอบมานานแล้วครับ ผมชอบโบราณคดี ไม่ชอบโบราณวัตถุ ผมชอบภูมิศาสตร์โบราณคดี มันเป็นเชื้อเดิมของธรณีวิทยา มันเป็นแขนงหนึ่งของการเรียน การที่เราจะศึกษาอะไรเพื่อพยากรณ์อนาคต มันก็ต้องเอาอดีตมาดูใช่ไหมครับ มีข้อมูลที่ได้มาจากการตรวจวัดไหม มีข้อมูลจากการบันทึกไหม โบราณคดีเป็นส่วนหนึ่งของธรณีวิทยาในการตรวจหาความจริง”

ผมสงสัยมานานแล้วว่า “เทือกเขาหิมาลัย” เกิดขึ้นได้อย่างไร

“สั้น ๆ นะ ก็เกิดจากการชนกันระหว่างแผ่นเปลือกโลกทวีป และแผ่นเปลือกโลกทวีปทำให้เกิดการยกตัวขึ้นอย่างรุนแรงในบริเวณการชนกัน เกิดเป็นที่ราบสูงทิเบต (Tibetan Plateau) และเทือกเขาหิมาลัยในปัจจุบัน ต้องอ่านเพิ่มเติมครับว่าแผ่นเปลือกโลกคืออะไร ชนกันในทิศทางไหนใช้เวลากี่ล้านปี จะได้เห็นภาพชัดขึ้น (อ่านเพิ่มเติม http://www.mitrearth.org/3-10-convergent-plate-movemen)

“Earth science เป็นวิชายี้ ไม่มีใครอยากสอน!” คุยกับ ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เขียนหนังสือ ‘Soft Quake: งานเขียนด้านธรณีวิทยาที่แอบนินทา “แผ่นดินไหว” แบบเบาๆ’ และแอดมินหนึ่งเดียวของเพจ มิตรเอิร์ธ - mitrearth ผู้มีความสุขกับการเล่าเรื่องวิทยาศาสตร์โลก ให้มิตรรักธรณีเข้าใจง่าย อ่านสนุก

แล้วเทือกเขาผีปันน้ำทางภาคเหนือ

“ต้องบอกก่อนว่า ภูเขาก่อตัวในหลายรูปแบบ หนึ่งในการก่อตัวคือ ภูเขารอยเลื่อน เป็นภูเขาที่เกิดจากแรงดึงทางธรณีแปรสัณฐาน ทำให้พื้นทวีปถูกยืดออกจากกันและแตกเป็นท่อนๆ และมีการยุบตัวลงอย่างเป็นระบบ เกิดภูมิลักษณ์ทางธรณีวิทยาแบบ ร่องขนาบรอยเลื่อน (graben) และเขาขนาบรอยเลื่อน (horst) หรือในทางภูมิศาสตร์นั้น กลายเป็นแอ่งราบและเทือกเขาสลับกันไป”

“มิตรเอิร์ธ” เดินทางต่อไปอย่างไร

“เดินไปเรื่อยๆ เท่าที่ผมทำได้ สนองความต้องการของตัวเอง และผมเชื่อว่าสิ่งที่ผมทำให้มีผู้รับรออยู่ แค่ให้ก็สุขใจแล้วครับ ลงทุกวันโดยไม่มีแบบแผน ไม่จำกัดว่าจะต้องลงกี่คอนเทนต์ต่อวัน มันเป็นการผูกมัดตัวเองเกินไป”

คำบันดาลใจ

“เป็นคำของพ่อ พอผมคงเอามาจากที่ไหนสักแห่ง ‘ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก’ ผมไม่ได้เดือดร้อนจากการให้ และอยากเห็นสิ่งที่ผมมีอยู่ถูกนำไปใช้ให้คุ้มค่า”

“Earth science เป็นวิชายี้ ไม่มีใครอยากสอน!” คุยกับ ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เขียนหนังสือ ‘Soft Quake: งานเขียนด้านธรณีวิทยาที่แอบนินทา “แผ่นดินไหว” แบบเบาๆ’ และแอดมินหนึ่งเดียวของเพจ มิตรเอิร์ธ - mitrearth ผู้มีความสุขกับการเล่าเรื่องวิทยาศาสตร์โลก ให้มิตรรักธรณีเข้าใจง่าย อ่านสนุก

และถ้าใครสนใจอยากรู้เรื่องโลกของเราเพิ่มเติม เชิญชวนนะครับ ที่ภาคธรณีวิทยามีพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดให้บริการสำหรับบุคคลทั่วไป ให้เข้าไปศึกษาเยี่ยมชมโลกของเราโดยไม่เสียค่าบริการทุกวันจันทร์ ถึงศุกร์ เวลาทำการ 10.00-14.00 น.

EXPLORERS: ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้
AUTHER: ไตรรัตน์ ทรงเผ่า
PHOTOGRAPHER: นภสิทธิ์ ตันเสียดี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *