Type and press Enter.

ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี

Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี

“การตื่นเช้าไม่ใช่เรื่องยากสำหรับผม เพราะผมคือช่างภาพสัตว์ป่า ต้องตื่นแต่เช้าบ่อยอยู่แล้ว เมื่อหลายเดือนก่อนผมได้ออกทริปขึ้นภาคเหนือของประเทศไทย ไปกับพ่อและแม่ ซึ่งพ่อเป็นคนขับพาไป ระหว่างทางเราได้แวะที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี พักอยู่ที่นี่ 2 คืน หลังตื่นมาจากคืนแรก ผมก็นั่งรถเข้าไปในเขตอุทยานฯ”

“ระหว่างทางได้เจอกับนักถ่ายภาพนกท่านหนึ่ง กำลังแหงนมองดูอะไรบนต้นไม้ และผมก็ได้พบกับ ‘เหยี่ยวแมลงปอขาแดง’ ซึ่งก็คือหนึ่งในเหยี่ยวที่เล็กที่สุดในโลกเลยทีเดียวครับ ตัวมันเล็กและไกล ผมเลยใช้เลนส์ RF 800mm f/11 IS STM ในการถ่ายภาพ”

Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Collared Falconet (เหยี่ยวแมลงปอขาแดง)

“ตอนเที่ยงคือเวลาที่ร้อนที่สุดของวัน เราจึงจะได้พบกับนกเล่นน้ำมากมาย ที่ห้วยขาแข้งก็จะมีแหล่งน้ำซับอยู่หลายที่ ซึ่งตรงป้อมยามก่อนถึงบ้านสืบนาคะเสถียรก็จะมีบังไพรถ่ายนกเล่นน้ำที่แหล่งน้ำซับตรงนั้น นกที่จะลงมาอยู่ตลอดก็คือตัวนี้ ‘นกจับแมลงหัวเทา’ ซึ่งระยะถ่ายจะค่อนข้างใกล้ ผมเลยใช้เลนส์ EF 100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM ครับ”

Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Grey-headed Canary-flycatcher (นกจับแมลงหัวเทา)

“การเดินทางต่อจากห้วยขาแข้งไปเชียงใหม่ใช้เวลาหลายชั่วโมง และที่แรกที่ผมไปตอนไปถึงก็คือเมืองคอง  อำเภอเชียงดาว ซึ่งนกตัวที่กำลังฮ็อตที่ตอนนั้นก็คือ ‘นกกระเต็นขาวดำใหญ่ซึ่งกำลังทำรังขุดดินอยู่ ผมพักที่บ้านภูตะวัน ซึ่งตอนเช้า (เกือบหกโมง) เจ้าของรีสอร์ทก็พาเราไปกางบังไพรถ่ายภาพนกกระเต็นที่รังของมัน พอแสงมาผมกับแม่ก็เริ่มได้ยินเสียงนกร้องมาจากไกล ๆ แล้วสักพักนกก็บินมาเกาะตรงที่ผมคาดเดาไว้พอดี”

Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Crested Kingfisher (นกกระเต็นขาวดำใหญ่)
Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Crested Kingfisher (นกกระเต็นขาวดำใหญ่)
Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Crested Kingfisher (นกกระเต็นขาวดำใหญ่)

“หลังจากไปเมืองคอง ที่ถัดไปที่ผมไปเที่ยว (กับแม่) ก็คืออุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ซึ่งผมได้ขึ้นไปที่จุดสูงสุดของประเทศไทย และพบกับนกแปลก ๆ หลายชนิด ตัวที่ผมชอบที่สุดก็คือตัวนี้นั่นก็คือ ‘นกกินปลีหางยาวเขียว’ อย่าเข้าใจผิดกันนะครับเพราะนกกินปลีไม่ใช่ hummingbird แต่เป็น sunbird ภาพนี้ถ่ายได้ตอนสาย ๆประมาณสิบโมงเช้า นกมาใกล้มาก ๆ ผมเลยตัดสินใจถ่ายภาพแบบเป็น close-up shot โดยการซูมสุดไปที่ระยะ 400 มม.”

Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Green-tailed Sunbird (นกกินปลีหางยาวเขียว)
Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Chestnut-tailed Minla (นกศิวะหางสีตาล) ตัวนี้พบในบริเวณเดียวกับกินปลีหางยาวเขียว

“หลังจากการขึ้นยอดดอยแล้ว ผมก็ได้กลับลงมาอยู่ที่แม่กางหลวง ซึ่งก็จะมีบังไพรถ่ายนกอยู่สองบังไพร ผมไปนั่งบังไพรที่ต้องเดินไกลกว่าหน่อยแต่ก็คุ้มครับเพราะตอนไปถึงนกก็บินกันว่อน ตัวที่เป็นตัวไฮไลต์ของตรงนี้คือ ‘นกนิลตวาท้องสีส้มคอดำ’ แต่ภาพที่สองผมคือ ‘นกเขนน้อยไซบีเรีย’ ครับ ทั้งสองตัวนี้เป็นนกอพยพจึงพบได้แค่ในฤดูหนาว สองภาพนี้ผมถ่ายได้ตอนเย็น ๆ แสงใกล้หมดครับ”

Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Rufous-bellied Niltava (นกนิลตวาท้องสีส้มคอดำ)
Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Siberian Blue Robin (นกเขนน้อยไซบีเรีย)

“หลังจากที่ผมกลับบ้าน (หางดง จังหวัดเชียงใหม่) มาจากดอยอินทนนท์ ผมก็นั่งแต่งภาพอยู่แล้วมองออกไปตรงหน้าบ้าน เห็นนกสีน้ำตาลตัวแปลก ๆ กระดิกหัวขยับไปมาบนต้นไม้ ผมก็เลยคว้ากล้องวิ่งไปส่องดู ผมถ่ายมาได้สองภาพก็เห็นว่าเป็น ‘นกคอพันซึ่งเป็นนกอพยพพบไม่บ่อย ไม่นานนักนกก็บินจากไป มันน่าจะมาหากินหนอน หรือแมลงอะไรตามต้นไม้นั้นแหละครับ”

Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Eurasian Wryneck (นกคอพัน)

“จากทริปภาคเหนือนี้ ผมชอบดอยสันจุ๊มากที่สุด เพราะมีนกเยอะและอากาศหนาวดี ผมตื่นตั้งแต่ตีสี่เพื่อออกมาถ่ายภาพไก่ฟ้าหางลายขวาง มือสั่นไปหมดเนื่องจากอากาศที่เย็นมาก ๆ ผมกางบังไพรทิ้งไว้จนเกือบหกโมงถึงเข้าไปนั่ง นกตัวแรกที่ลงมาคือ ‘นกติ๊ดหลังสีไพล’ เจ็ดโมงแล้วไก่ก็ยังไม่ออก สักพักก็มี ‘นกยอดหญ้าสีเทา’ และ ‘นกเด้าดินสวน’ ลงมาที่หน้าบังไพร ผมก็ถ่ายไปก่อนแก้เบื่อ จะเก้าโมงแล้วมีแต่ ‘นกระวังไพรแก้มสีน้ำตาล’ ไก่ฟ้าก็ไม่มา ผมเลยยกบังไพรออกแล้วไปหานกอื่นถ่ายครับ คงเป็นเพราะวันนั้นอากาศเปลี่ยน”

Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Japanese Tit (นกติ๊ดหลังสีไพล)
Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Olive-backed Pipit (นกเด้าดินสวน)
Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Rusty-cheeked Scimitar-babbler (นกระวังไพรแก้มสีน้ำตาล)
Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Grey Bushchat (นกยอดหญ้าสีเทา)

“หลังจากการนั่งเฝ้าไก่ฟ้า (ซึ่งไม่ออกมา) เป็นเวลานาน ผมก็เดินหานกบริเวณนั้น ผมได้ยินเสียงเล็ก ๆ จากต้นไม้เหนือผมเลยเดินถอยมาดู เห็น ‘นกจับแมลงสีคราม’ เกาะอยู่ด้านบนเลยถ่ายรัว ๆ เพราะตัวนี้เป็นหนึ่งในนกเป้าหมายของผม”

Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Ultramarine Flycatcher (นกจับแมลงสีคราม)

“ที่ดอยสันจุ๊ยังมีนกอีกหลายชนิด ซึ่งที่ผมไปเจอก็มี ‘นกปากนกแก้วอกลาย’ และ ‘นกจับแมลงคอขาวหน้าดำ’ ตอนที่ผมไปนกปากนกแก้วก็กระโดดออกมาจากพุ่มไม้ขึ้นบนกิ่งร้องกระโดดไปมาเวลาสิบโมงกว่า ไกด์ที่พาผมไปก็บอกผมว่ามีจุดที่นกจับแมลง ‘slaty blue’ ออกมาอยู่ประจำ ผมเลยลองไปนั่งดู 20 นาที นกก็ออกมาให้เห็นเรื่อย ๆ ครับ”

Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Spot-breasted Parrotbill (นกปากนกแก้วอกลาย)
Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Slaty-blue Flycatcher (นกจับแมลงคอขาวหน้าดำ)

“อีกหนึ่งดอยในเชียงใหม่ ที่อยู่ใกล้ ๆ กับดอยสันจุ๊ ก็คือดอยลาง ซึ่งตัวแรกที่ผมเจอนับว่าเป็น ‘นกเทพ’ เลยก็ว่าได้ นั่นก็คือ ‘นกเขนสีฟ้าท้ายสีน้ำตาล’ ภาพนี้ถ่ายโดยการใช้บังไพรตอนเวลาที่แดดกำลังร้อน ๆ”

Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Blue-fronted Redstart (นกเขนสีฟ้าท้ายสีน้ำตาล)

“ที่ดอยลางยังมีนกอีกมากมายหลายชนิด ซึ่งที่ผมถ่ายมาก็มี ‘นกเขนน้อยพันธุ์หิมาลัยและ ‘นกนิลตวาใหญ่ ภาพแรกผมใช้เวลานานกว่าจะถ่ายได้ เพราะว่ามีนกเขนสีฟ้าท้ายสีน้ำตาลตัวเมียคอยบินมาไล่อยู่ตลอด นกไม่ยอมเข้ามาใกล้เพราะว่ามันยังกลัวตัวที่มาไล่ ภาพที่สองใช้บังไพร กำลังเฝ้านกเดินดงสีน้ำตาลแดง แต่ตัวนี้ก็บินมาให้ถ่ายแก้เบื่อระหว่างรอ”

Himalayan Bluetail (นกเขนน้อยพันธุ์หิมาลัย)
Himalayan Bluetail (นกเขนน้อยพันธุ์หิมาลัย)
Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Large Niltava (นกนิลตวาใหญ่)
Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Eurasian Hoopoe (นกกะรางหัวขวาน) | นกกะรางหัวขวานคลุกดินยามเย็น หลังกลับบ้านมาจากดอยลาง
Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Red Avadavat (นกกระติ๊ดแดง) นกทุ่งนาแถวบ้านที่แม่เหียะ
Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Lesser Whistling Duck (เป็ดแดง)
Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
กระเต็นน้อยแถวบ้าน (Common Kingfisher, นกกระเต็นน้อยธรรมดา)
Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
กระเต็นน้อยแถวบ้าน (Common Kingfisher, นกกระเต็นน้อยธรรมดา)

“หลังจากกลับมาบ้านแล้วหลายวัน  พ่อกับแม่ก็พาผมออกไปถ่ายนกอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ไปที่เชียงราย ที่พักของเราอยู่ที่เชียงแสน ไปเช็คอินและดูห้องอะไรเสร็จเราก็ไปที่หนึ่งเรียกว่า ‘ปางฮุ้ง เวียงหนองหล่ม’ ตัวที่ไปถ่ายก็คือ ‘เหยี่ยวด่างดำขาว’ เราเข้าบังไพรถ่ายเหยี่ยวแล้วต้องไม่ขยับไปมา เพราะเหยี่ยวพวกนี้สายตาดี มองเห็นการเคลื่อนไหวเกือบทุกอย่าง เหยี่ยวตัวแรกลงมาตอนห้าโมงกว่า ๆ  แต่มาเยอะก็ตอนหกโมงเย็น ภาพนี้ถ่ายตอนแสงน้อยมากผมจึงถ่ายได้ที่ ISO 3200 และสปีดชัตเตอร์เพียง 1/20″

Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Pied Harrier (เหยี่ยวด่างดำขาว)

“ตอนเช้าที่ทะเลสาบเชียงแสนจะมีนกน้ำให้ดูมากมาย ที่นี่เป็นหนึ่งในจุดที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายเป็ดที่อพยพเข้ามาในไทย จุดโปรดของผมก็คือที่นี่ เนื่องจากบรรยากาศที่เงียบสงบและอากาศที่หนาวเย็น การนั่งเรือเข้าไปในทะเลสาบทำให้ง่ายต่อการถ่ายภาพมาก ๆ เพราะว่าจะได้ระยะที่ดีในการถ่าย บางชนิดของเป็ดอพยพที่นี่ก็มี เป็ดเทาพันธุ์อินเดีย, เป็ดโปช้าดหลังขาว และ เป็ดดำหัวสีน้ำตาล เป็ดประจำถิ่นก็จะมี เป็ดแดง เป็ดคับแค และเป็ดผีเล็ก ทริปนี้ปิดแค่นี้ครับ เป็นการปิดทริปที่ดีเลยทีเดียว”

Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Indian Spot-billed Duck (เป็ดเทาพันธุ์อินเดีย)
Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Common Pochard (เป็ดโปช้าดหลังขาว)
Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Ferruginous Pochard (เป็ดดำหัวสีน้ำตาล)
Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี
Cotton Pygmy Goose (เป็ดคับแค)

Wings Up North – December 2021 to January 2022 | ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร

Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี

วสุ วิทยนคร

จุดเริ่มต้นการถ่ายภาพของช่างภาพรุ่นเล็กวัย 11 ปีผู้นี้ เริ่มจากความชอบในการออกไปดูสัตว์ป่า วสุเล่าว่า วันหนึ่งเขาได้ไปเจอคุณลุงที่เขาใหญ่ ผู้ซึ่งชักชวนให้เขาเริ่มถ่ายรูปสัตว์ป่าเป็นคนแรก โดยเริ่มจากถ่ายนกเป็นชนิดแรก ประกอบกับการที่วสุได้เห็นภาพถ่ายของณรงค์ สุวรรณรงค์ ที่แขวนอยู่ในโรงอาหารที่เขาใหญ่ และได้อ่านหนังสือภาพของเขา จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้วสุอยากถ่ายภาพอย่างจริงจังในเวลาต่อมา

วสุเริ่มถ่ายภาพตอนอายุ 9 ขวบ โดยใช้กล้องตัวแรกซึ่งเป็นกล้องตัวเก่าของคุณแม่ และสถานที่แรกที่วสุเริ่มถ่ายรูป ก็คือเขาใหญ่นี่แหละ

วสุบอกว่า การถ่ายภาพนก เราต้องรู้จักพฤติกรรมของมัน โดยเริ่มจากฟังเสียงนกก่อนเพื่อหาทิศทางของมัน ต่อมาต้องหาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งด้านชีววิทยา การอยู่อาศัย และพฤติกรรม เพื่อจะทราบว่านกแต่ละชนิดเป็นอย่างไร อาศัยที่ไหน แล้วก็มีหนังสือแนะนำช่วยด้วยอีกแรง

ความรักในการถ่ายภาพของวสุได้รับการสนับสนุนโดยครอบครัวอย่างเต็มที่ วสุเล่าว่าคุณแม่จะพาเขาไปเที่ยวเกือบทุกสัปดาห์ โดยเฉพาะในเขตอุทยานแห่งชาติเช่น แก่งกระจาน และเขาใหญ่

นกที่วสุชอบที่สุดจะเป็นนกตระกูล นกกระเต็น เช่น นกกระเต็นน้อยแถบอกดำ เพราะมีสีสันและพฤติกรรมหลากหลาย ปัจจุบัน วสุถ่ายนกชนิดนี้เฉพาะที่พบในไทยก็เกือบครบแล้ว ขาดเพียงแค่ 2 ชนิดเท่านั้น และหนึ่งในนั้นน่าจะหาไม่ได้แล้วในตอนนี้

ส่วนนกที่ถ่ายยากที่สุดในความคิดของวสุ คือ  นกหัวขวานจิ๋วคิ้วขาว เพราะมันบินเร็ว และอาศัยอยู่ในป่าทึบ ซึ่งหากต้องเดินทางเข้าป่าลึก วสุจะร่วมเดินทางไปกับไกด์เพื่อถ่ายภาพ ส่วนคุณแม่จะรออยู่ด้านนอก

สำหรับวสุ เขามองว่างานถ่ายภาพเป็นงานอดิเรกสำหรับตัวเองมากกว่า และถ้ามีโอกาสเขาก็อยากทำงานเกี่ยวกับธรรมชาติในอนาคต และในเดือนกรกฎาคมนี้ วสุมีแพลนจะไปถ่ายรูปนกที่อินโดนีเซีย เป็นนกที่ชื่อว่า ปักษาสวรรค์

“ก่อนที่จะมีโควิดเคยชวนเพื่อนมาถ่ายภาพด้วยกัน เพราะรู้สึกว่าภาพที่เพื่อนถ่ายสวยงาม จึงมักจะออกไปถ่ายภาพด้วยกันบ่อย ๆ แต่เนื่องด้วยโควิดเลยทำให้ช่วงนี้ไปถ่ายภาพคนเดียวมากกว่า ในอนาคตอยากถ่ายรูปสัตว์ป่าอื่น ๆ ด้วย เช่น เสือดำ และเสือดาว ครั้งหนึ่งเคยถ่ายหมาไนขณะที่กำลังกินซากกวางที่เขาใหญ่ได้ ทำให้มองภาพในอนาคตว่าสักวันจะถ่ายสัตว์ป่าชนิดอื่นนอกเหนือจากนกด้วย” วสุ เล่าให้พวกเราฟังถึงเป้าหมายในอนาคต

แม้ตัวของวสุจะยังไม่เคยได้รับรางวัลใด ๆ ในการถ่ายภาพ แต่เขาก็ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์จาก Canon Thailand ซึ่งในวัย 11 ปี ก็ถือว่าเป็นรางวัลที่วสุภูมิใจมากที่สุดเลยก็ว่าได้

Wings Up North - December 2021 to January 2022 ชุดภาพถ่าย ‘นกทางเหนือ’ โดย วสุ วิทยนคร ช่างภาพสัตว์ป่าวัย 11 ปี

EXPLORER / PHOTOGRAPHER: Wasu Vidayanakorn
FB: Wasu Wildlife Photography
IG: wasuwy_wildlifeandnature

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *