Type and press Enter.

เดินเท้าเสาะหาเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ในชุมชนบ้านครัว

ย้อนรอยอดีต สัมผัสเสน่ห์ผ้าไหม เดินเท้าเข้า ชุมชนบ้านครัว เยี่ยมชมมรดกทางวัฒนธรรมที่หลงเหลืออยู่กลางกรุงเทพฯ

หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ ชุมชนบ้านครัว หรือ บ้านครัว ผ่านงาน Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา แต่รู้หรือไม่ว่า บ้านครัวมีเรื่องราวน่าสนใจมากกว่าแค่การเป็นชุมชนมุสลิม เพราะที่นี่คือชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี เป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมเชื้อสายจาม อดีตกองทหารอาสาที่มีส่วนช่วยรบในสงคราม 9 ทัพ ครั้งเริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

ชุมชนบ้านครัว
ทริปนี้ผมมากับพี่นัท (นัท จุลภัสสร) ผู้ชายที่หลงใหลในศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ที่หาตัวจับยากคนหนึ่ง
ชุมชนบ้านครัว หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ "บ้านครัว" ผ่านงาน Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา แต่รู้หรือไม่ว่า บ้านครัวมีเรื่องราวน่าสนใจมากกว่าแค่การเป็นชุมชนมุสลิม เพราะที่นี่คือชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี เป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมเชื้อสายจาม อดีตกองทหารอาสาที่มีส่วนช่วยรบในสงคราม 9 ทัพ ครั้งเริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

การเดินทางของจาม

“จาม” เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในอาณาจักรจามปา อาศัยอยู่ทางบริเวณเวียดนามตอนกลาง ถึงตอนใต้ในปัจจุบัน ในสมัยโบราณเวลาทำศึกสงครามเมื่อฝ่ายใดเป็นผู้ชนะก็จะกวาดต้อนผู้คนมาเป็นเชลยศึกใช้แรงงานภายในดินแดนของตน ซึ่งปรากฏว่าชาวจามก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่ถูกกวาดต้อนจากการทำสงคราม ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยรัชกาลที่ 1

เมื่อรัชกาลที่ 1 ขึ้นครองราชย์ฯ และเริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี เมื่อปี พ.ศ.2325 ไม่นานหลังจากสร้างกรุงเทพฯ จวบจนปี พ.ศ. 2328 ได้เกิดศึกสงคราม 9 ทัพ เชลยศึกเชื้อสายจามเหล่านี้ ได้ขออาสาเข้าร่วมรบในสงครามด้วย รัชกาลที่ 1 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเป็น “กองทหารอาสาจาม” มีความเชี่ยวชาญในการรบทางเรือ โดยได้ช่วยเหลือกองทัพสยามในการรบจนมีความดีความชอบ ได้รับพระราชทานที่ดินบริเวณชานพระนครเพื่อตั้งรกรากทำมาหากินต่อไป บริเวณริมคลองบางกะปิ (ปัจจุบันคือบริเวณตั้งแต่สะพานเฉลิมหล้า 56 (สะพานหัวช้าง) ถึงวัดพระยายัง

ชุมชนบ้านครัว หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ "บ้านครัว" ผ่านงาน Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา แต่รู้หรือไม่ว่า บ้านครัวมีเรื่องราวน่าสนใจมากกว่าแค่การเป็นชุมชนมุสลิม เพราะที่นี่คือชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี เป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมเชื้อสายจาม อดีตกองทหารอาสาที่มีส่วนช่วยรบในสงคราม 9 ทัพ ครั้งเริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

ในอดีตชาวจามที่ถูกกวาดต้อนมาแบบยกครัวกลุ่มนี้เป็นมุสลิม จึงได้รับการเรียกขานว่าเป็นพวก “แขกครัว” และเรียกชุมชนนี้ว่า “บ้านแขกครัว” ต่อมาถึงสมัยจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีมีความต้องการที่จะสลายความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อมิให้มีการแบ่งแยกเป็นกลุ่มชนฝักฝ่าย เพื่อรวมชาติ รวมสังคมให้เป็นหนึ่งเดียวกันในการปกครอง จึงตัดคำเรียกขานว่า “แขก” ออก เหลือเพียงคำว่า “บ้านครัว” ที่นี่จึงกลายเป็น “ชุมชนบ้านครัว” นับแต่นั้นมา

เมื่อชาวแขกจามได้มาตั้งรกรากบนที่ดินพระราชทานแล้ว สิ่งที่ติดตัวมาด้วยคือวัฒนธรรมการกินอยู่ และศิลปหัตถกรรม โดยมีความเชี่ยวชาญมากในด้านการทอผ้าไหม ซึ่งชาวมุสลิมเชื้อสายจามกลุ่มนี้จะมีวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา คือผู้หญิงจะทอผ้าใช้เอง โดยเฉพาะการทอโสร่งไหม ถ้าจะพูดให้เท่ ๆ ก็คือการทอผ้าไหมของชาวมุสลิมเชื้อสายจามบนแผ่นดินสยาม ที่มีสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย

ชุมชนบ้านครัว_EXC_Inside-39

ก่อนที่ผ้าไหมบ้านครัวจะดัง

ต้องเท้าความถึงสมัยรัชกาลที่ 4 เวลานั้นมีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมเพื่อเป็นแผนพัฒนาขยายเมือง เนื่องจากพื้นที่พระนครในเขตคลองรอบกรุงซึ่งขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 เริ่มแออัด บ้านเมืองเริ่มเจริญ มีการมาตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยหนาแน่นขึ้น ทำให้ผู้คนในพื้นที่ตอนในพระนครเริ่มขยับขยายออกไปสู่ชานเมือง สังเกตได้จากในอดีตเมื่อพระเจ้าแผ่นดินจะขยายพระนคร ต้องมีการสร้าง หรือปฏิสังขรณ์พระอารามตามแนวคูพระนคร แล้วพระราชทานไพร่ไปทำหน้าที่อุปถัมภ์ดูแลพระภิกษุสามเณรมิให้ลำบาก

ทั้งนี้เพื่อเป็นการบำรุงพระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นองค์ศาสนูปถัมภก อีกทั้งยังเป็นการช่วยสอดส่องดูแลพระนครที่ขยายออกไปด้วย เปรียบได้กับเป็นจุดสังเกตการณ์ หากมีเหตุร้ายจะสามารถรายงานให้ทราบได้ทันท่วงที เพื่อดำเนินการป้องกันต่อไป ไพร่ที่พระราชทานมาทำหน้าที่ดูแลพระสงฆ์เรียกว่า “เลกวัด”หรือ “ข้าพระอาราม” เป็นชายฉกรรจ์ที่พระเจ้าแผ่นดิน ขุนนาง หรือมีผู้อุทิศถวายให้แก่วัดเพื่อทำงานรับใช้พระสงฆ์ และสามเณร โดยบุคคลเหล่านี้จะได้รับยกเว้นการเกณฑ์ไปทำงานให้กับทางราชการ ซึ่งก็มักจะตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้วัด และประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับวัดอยู่กันเป็นย่าน

อาทิ ตีทอง ทำบาตรพระ ทำสายรัดประคด หล่อพระพุทธรูป ฯลฯ จนกลายเป็นชุมชนช่างฝีมือของพระนครในปัจจุบัน เช่น ย่านถนนตีทอง บ้านบาตร บ้านช่างหล่อ บ้านดอกไม้(ไฟ) บ้านบุ ฯลฯ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาจะมีพระอารามที่สร้างตามแนวคูพระนคร คือวัดกุฎีดาว และวัดสมรโกฐาราม ส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดโสมนัสวิหาร และวัดมกุฎกษัตริยาราม รวมถึงปฏิสังขรณ์วัดมหาพฤฒาราม และสร้างวัดบรมนิวาส ตามแนวคลองผดุงกรุงเกษมที่โปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นเป็นแนวคูพระนคร

และเมื่อเมืองขยายตัว ก็เริ่มมีผู้คนตั้งถิ่นฐานซื้อขายสินค้ากันคึกคัก เกิดย่านตลาดนางเลิ้งในเวลาต่อมา นอกจากนี้รัชกาลที่ 4 ยังได้เสด็จพระราชดำเนินมาสร้าง “พระราชวังปทุมวัน” ในพื้นที่ตอนนอกพระนครซึ่งอุดมไปด้วยบึงบัวนานาพันธุ์อันร่มรื่นเพื่อเป็นที่ประทับตากอากาศ

ชุมชนบ้านครัว หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ "บ้านครัว" ผ่านงาน Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา แต่รู้หรือไม่ว่า บ้านครัวมีเรื่องราวน่าสนใจมากกว่าแค่การเป็นชุมชนมุสลิม เพราะที่นี่คือชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี เป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมเชื้อสายจาม อดีตกองทหารอาสาที่มีส่วนช่วยรบในสงคราม 9 ทัพ ครั้งเริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
เดินลัดเลาะเลียบคลองบางกะปิ สืบเสาะหาเรื่องราวความเป็นมาของการทอผ้าไหมในชุมชนบ้านครัว

จวบจนสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะพัฒนาพื้นที่ตอนนอกต่อจากพระราชบิดา จึงได้ทรงพระราชทานที่ดินตอนนอกพระนครให้กับพระเจ้าน้องยาเธอ และพระราชโอรสให้ปลูกสร้างวัง เป็นพระราชกุศโลบายในการขยาย และพัฒนาพื้นที่ตอนนอกพระนครเพิ่มขึ้น เพราะเมื่อมีการปลูกสร้างวังก็จะต้องมีข้าราชบริพารมาอาศัยอยู่ด้วย เพื่อถวายงานรับใช้ และจะได้ช่วยดูแลพระนครต่างพระเนตรพระกรรณ

ดังจะเห็นได้จากการพระราชทานพื้นที่สร้างวังประทานเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร หรือที่รู้จักกันในนาม “วังวินเซอร์” หรือ “วังกลางทุ่ง” “วังใหม่” อันเป็นส่วนหนึ่งของเขตปทุมวัน (ปัจจุบันคือบริเวณที่ตั้งของสนามกีฬาแห่งชาติ) รวมถึงได้พระราชทานที่ดินให้กับพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ ต้นราชสกุล “เกษมสันต์” จึงปรากฏชื่อซอยเกษมสันต์ 1-3 ตรงข้ามสนามกีฬาแห่งชาติในปัจจุบัน

ชุมชนบ้านครัว หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ "บ้านครัว" ผ่านงาน Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา แต่รู้หรือไม่ว่า บ้านครัวมีเรื่องราวน่าสนใจมากกว่าแค่การเป็นชุมชนมุสลิม เพราะที่นี่คือชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี เป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมเชื้อสายจาม อดีตกองทหารอาสาที่มีส่วนช่วยรบในสงคราม 9 ทัพ ครั้งเริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

และที่สำคัญคือพระราชทานที่ดินริมคลองบางกะปิเชื่อมต่อกับคลองมหานาคทางทิศตะวันออกให้กับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ซึ่งสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระมเหสีเทวีในรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปประทับกับพระราชโอรส และสร้างวังสระปทุมเป็นที่ประทับในเวลาต่อมา(ปัจจุบันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)

ดังนั้น เมื่อมีเจ้านายมาประทับอยู่ใกล้ชุมชน จึงมีความเป็นไปได้มากว่า ผ้าไหมของชาวมุสลิมชุมชนบ้านครัว อาจเคยได้นำมาถวายเจ้านาย และเริ่มเป็นที่รู้จักขึ้นมาของผู้คนก็เป็นได้

ชุมชนบ้านครัว หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ "บ้านครัว" ผ่านงาน Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา แต่รู้หรือไม่ว่า บ้านครัวมีเรื่องราวน่าสนใจมากกว่าแค่การเป็นชุมชนมุสลิม เพราะที่นี่คือชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี เป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมเชื้อสายจาม อดีตกองทหารอาสาที่มีส่วนช่วยรบในสงคราม 9 ทัพ ครั้งเริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
สืบเสาะหาเรื่องราวความเป็นมาของการทอผ้าไหมในชุมชนบ้านครัว

 จิม ทอมป์สัน กับบ้านครัว

เหตุการณ์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงนั้นชาวต่างชาติเข้ามาในเมืองไทยมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพวกนักข่าวที่ต้องรายงานข่าวผลกระทบของสงคราม และหน่วยสืบราชการลับ OSS หรือต่อมาภายหลังเปลี่ยนเป็น CIA หนึ่งในนั้นมี จิม ทอมป์สันรวมอยู่ด้วย หลังจากอกหักจากการเป็นหุ้นส่วนในธุรกิจโรงแรมโอเรียลเต็ล ยังหาทางออกให้กับตัวเองในประเทศไทยไม่ได้ว่าจะอยู่ที่นี่เพื่อประกอบอาชีพอะไรดี แต่ก็มีเหตุบังเอิญไปพบเจอผ้าไหมจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร ที่มีความงดงามมาก จึงได้สืบเสาะว่า มีแหล่งทอผ้าไหมที่ใดในกรุงเทพฯ บ้าง จนมาพบกับชุมชนบ้านครัว ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองบางกะปิ ย่านใจกลางกรุงเทพฯ ซึ่งสืบทอดการทอผ้าไหมแบบโบราณ (ตรงข้ามพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สันในปัจจุบัน)

ช่วงนั้นเศรษฐกิจโลก และประเทศไทยกำลังซบเซา เพราะเป็นสภาวะช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  จิม ทอมป์สัน เห็นถึงช่องทาง และความเป็นไปได้ที่จะนำพาธุรกิจผ้าไหมไทยให้เติบโตขึ้น จึงนั่งเรือข้ามฟากมาให้ชาวบ้านทอผ้าให้ดู จากนั้นก็นำผ้าที่ทอกลับไปอเมริกาให้เพื่อนคือเอ็ดนา วูลแมน เชส ซึ่งเป็นบรรณาธิการนิตยสารโว้คในสมัยนั้น ช่วยพิจารณาดูผ้าไหมที่นำมาให้ เอ็ดนา วูลแมน เชส บอกกับทีมงานว่า “วันนี้ทุกคนห้ามกลับบ้าน จนกว่าจะเห็นผ้าชิ้นนี้เป็นชุด”

โดยดีไซเนอร์ชื่อ วาเลนติน่า ได้นำผ้าไหมดังกล่าวไปตัดเย็บ แล้วถ่ายแบบลงนิตยสารโว้ค ซึ่งเป็นนิตยสารแฟชั่นชื่อดัง พร้อมกับใส่เครดิตว่า “ผ้าไหมโดยจิม ทอมป์สัน” ต่อมาไม่นานได้มีทีมงานออกแบบเครื่องแต่งกายละครเวทีเรื่อง The King and I มาสั่งทอผ้าไหมที่ชุมชนบ้านครัว ทำให้ยอดขายผ้าไหมจากชุมชนเพิ่มขึ้นจนถึงขั้นต้องจัดตั้งบริษัท รายได้ก็เริ่มเข้าสู่ชุมชน มีการส่งลูกหลานในชุมชนไปเรียนรู้เรื่องสิ่งทอที่ต่างประเทศโดยการสนับสนุนของจิม ทอมป์สันส่วนหนึ่ง และชาวบ้านที่ทอผ้าในชุมชนบ้านครัวนั้นก็กลายมาเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทอุตสาหกรรมไหมไทยจนถึงปัจจุบัน และจิม ทอมป์สัน ก็มาสร้างบ้านอยู่ตรงข้ามชุมชนบ้านครัว

ปี พ.ศ.2510 เป็นช่วงเวลาและธุรกิจของจิม ทอมป์สัน กับบ้านครัวกำลังไปได้ดี พร้อมทั้งเปิดร้านผ้าไหมใหม่เพิ่มอีกด้วย ได้เกิดความเหนื่อยล้าในการทำงานจึงหยุดพักไปเที่ยวที่ประเทศมาเลเซีย คาเมรอนไฮแลนด์ ก็นัดเจอกันกับเพื่อน ๆ ที่รีสอร์ทแห่งหนึ่งเพื่อที่จะรับประทานอาหารเย็นด้วยกัน ปรากฏว่าจิม ทอมป์สัน หายตัวไปอย่างลึกลับตั้งแต่วันนั้นจนถึงปัจจุบัน และก็ยังไม่มีข้อสรุปจากการหายตัวไป

การหายตัวไปของจิม ทอมป์สัน เป็นช่วงเวลาที่กิจการผ้าไหมเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ทำให้การผลิตไม่ทันต่อความต้องการจึงต้องเริ่มมองหาสถานที่ผลิตจากที่อื่นมาเพิ่ม โดยหันมาเปลี่ยนแหล่งผลิต และทอผ้าแบบครบวงจรที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ส่งผลให้บทบาทธุรกิจการทอผ้าไหมของชุมชนบ้านครัวเริ่มลดลง จนถึงบัดนี้

ชุมชนบ้านครัว หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ "บ้านครัว" ผ่านงาน Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา แต่รู้หรือไม่ว่า บ้านครัวมีเรื่องราวน่าสนใจมากกว่าแค่การเป็นชุมชนมุสลิม เพราะที่นี่คือชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี เป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมเชื้อสายจาม อดีตกองทหารอาสาที่มีส่วนช่วยรบในสงคราม 9 ทัพ ครั้งเริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

เดินเที่ยวบ้านครัว

การเดินเที่ยวชมชุมชนบ้านครัวในวันนี้ เป็นการเดินชมบ้านสมัยก่อน เดินดูบ้านเรือนเก่าแก่ที่สะท้อนความรุ่งเรืองของชุมชนครั้งอดีตที่ยังหลงเหลืออยู่ พร้อมทั้งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนไปด้วย ซึ่งปัจจุบันยังคงเหลือร่องรอยทางประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาผ่านการเดินเท้าเข้าไปเยี่ยมยล เราเดินเข้าซอยเกษมสันต์ 2 ซึ่งจากชื่อซอยก็ทำให้เข้าใจได้ว่า

ในสมัยก่อนบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ในซอยนี้ ล้วนเป็นลูกหลานของรัชกาลที่ 4 การมาเดินเที่ยวชมชุมชนบ้านครัว สิ่งที่จะพลาดไม่ได้เลยคือการแวะชมการทอผ้าไหม ที่เป็นอาชีพเก่าแก่ของชุมชนนี้ และหลงเหลืออยู่เพียงหลังเดียวในชุมชนที่ยังคงทอผ้าไหมอยู่ โชคดีเหลือเกินที่ได้พบกับพี่นิพนธ์ มนูทัศน์ ผู้สืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าของแขกจาม ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งพี่นิพนธ์นี้เป็นรุ่นที่ 3 และมีลูกสาวมาช่วยกิจการต่อเป็นรุ่นที่ 4

ชุมชนบ้านครัว หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ "บ้านครัว" ผ่านงาน Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา แต่รู้หรือไม่ว่า บ้านครัวมีเรื่องราวน่าสนใจมากกว่าแค่การเป็นชุมชนมุสลิม เพราะที่นี่คือชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี เป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมเชื้อสายจาม อดีตกองทหารอาสาที่มีส่วนช่วยรบในสงคราม 9 ทัพ ครั้งเริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
แวะชมการทอผ้าไหม ที่เป็นอาชีพเก่าแก่ของชุมชนนี้
ชุมชนบ้านครัว หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ "บ้านครัว" ผ่านงาน Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา แต่รู้หรือไม่ว่า บ้านครัวมีเรื่องราวน่าสนใจมากกว่าแค่การเป็นชุมชนมุสลิม เพราะที่นี่คือชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี เป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมเชื้อสายจาม อดีตกองทหารอาสาที่มีส่วนช่วยรบในสงคราม 9 ทัพ ครั้งเริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
ภาพเก่านายจิม ทอมป์สัน ผู้ปลุกชีวิตการทอผ้าไหมของชุมชนบ้านครัวให้แวดวงสิ่งทอและแฟชั่นระดับโลกได้รู้จักอย่างแพร่หลาย
ชุมชนบ้านครัว หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ "บ้านครัว" ผ่านงาน Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา แต่รู้หรือไม่ว่า บ้านครัวมีเรื่องราวน่าสนใจมากกว่าแค่การเป็นชุมชนมุสลิม เพราะที่นี่คือชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี เป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมเชื้อสายจาม อดีตกองทหารอาสาที่มีส่วนช่วยรบในสงคราม 9 ทัพ ครั้งเริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
กี่กระตุกและอุปกรณ์การทอผ้าไหมอันเลื่องชื่อของชุมชนบ้านครัว เทคโนโลยีการทอผ้าที่จิม ทอมป์สันนำมาแนะนำให้ชาวชุมชนใช้เพื่อให้สามารถทอได้รวดเร็วและมีหน้าของผืนผ้ากว้างขึ้นกว่าการใช้กี่เอวแบบโบราณ
ชุมชนบ้านครัว หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ "บ้านครัว" ผ่านงาน Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา แต่รู้หรือไม่ว่า บ้านครัวมีเรื่องราวน่าสนใจมากกว่าแค่การเป็นชุมชนมุสลิม เพราะที่นี่คือชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี เป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมเชื้อสายจาม อดีตกองทหารอาสาที่มีส่วนช่วยรบในสงคราม 9 ทัพ ครั้งเริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
กี่กระตุกและอุปกรณ์การทอผ้าไหมอันเลื่องชื่อของชุมชนบ้านครัว เทคโนโลยีการทอผ้าที่จิม ทอมป์สันนำมาแนะนำให้ชาวชุมชนใช้เพื่อให้สามารถทอได้รวดเร็วและมีหน้าของผืนผ้ากว้างขึ้นกว่าการใช้กี่เอวแบบโบราณ
ชุมชนบ้านครัว หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ "บ้านครัว" ผ่านงาน Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา แต่รู้หรือไม่ว่า บ้านครัวมีเรื่องราวน่าสนใจมากกว่าแค่การเป็นชุมชนมุสลิม เพราะที่นี่คือชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี เป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมเชื้อสายจาม อดีตกองทหารอาสาที่มีส่วนช่วยรบในสงคราม 9 ทัพ ครั้งเริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

พี่นิพนธ์เล่าให้ฟังว่า

“แรกเริ่มเลยที่บ้านครัวนี้ทอผ้าโสร่ง สมัยก่อนนำไหมมาจากเขมร อย่างผืนนี้ แม่ทอให้พ่อผมตอนที่ท่านทั้งสองกำลังจะแต่งงานกัน ตามประเพณีอิสลาม ผู้หญิงจะทอผ้าให้ผู้ชาย

“ในสมัยก่อนการทอผ้าด้วยกี่กระทบ และมีการพัฒนามาเป็นกี่กระตุกช่วยให้การทอผ้าเร็วขึ้น ส่วนผ้าที่ทอส่งให้จิม ทอมป์สัน นั้น เราไม่ได้ส่งให้ตั้งแต่จิม ทอมป์สันหายตัวไป และเขาก็มีโรงงานทอผ้าเองที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยได้นำคนงานที่มีความรู้ความชำนาญในการทอผ้าจากชุมชนบ้านครัวไปอยู่ที่นั่นหมด ปัจจุบันจึงเหลือที่บ้านผมหลังเดียว

“ตอนนี้ที่บ้านผมก็ทอเอง ผลิตเองขายเอง ส่งออกเองทั้งหมด ออกแบบเองด้วย ผมได้ไปเรียนออกแบบลายผ้าที่เยอรมนี

ชุมชนบ้านครัว หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ "บ้านครัว" ผ่านงาน Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา แต่รู้หรือไม่ว่า บ้านครัวมีเรื่องราวน่าสนใจมากกว่าแค่การเป็นชุมชนมุสลิม เพราะที่นี่คือชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี เป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมเชื้อสายจาม อดีตกองทหารอาสาที่มีส่วนช่วยรบในสงคราม 9 ทัพ ครั้งเริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
นิพนธ์ มนูทัศน์ ผู้สืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าไหมของชาวแขกจาม ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์

“เหตุผลอะไรที่ยังทำให้ผมยังสามารถยืนหยัดอยู่กับการทอผ้าไหม ต้องบอกอย่างนี้ครับ ตอนนี้ “ผ้าไหม” มันเหมือนกับเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยไปแล้ว ถ้าพูดถึงผ้าไหม นานาชาติให้การยอมรับ ก็ต้องเป็นประเทศไทยเท่านั้น ย้อนกลับไปตอนที่จิม ทอมป์สันยังอยู่ เราก็ผลิตส่งอย่างเดียว

“จากผมเป็นเด็กจนโตเป็นหนุ่มคลุกคลีอยู่กับการทอผ้า และค้าขายผ้าไหมมาตลอด มองว่ามันน่าจะเป็นธุรกิจที่สามารถไปได้ดีในอนาคต และมีการนำผ้าไหมออกไปขายให้กับร้านค้าทั่วไปด้วยเป็นการกระจายตลาดทางหนึ่งด้วย ทำให้เรามั่นใจว่าผ้าที่ทอจากบ้านครัว เป็นผ้าไหมคุณภาพดี บวกกับว่าผมมีใจรักในผ้าไหมอยู่ด้วย ก็เลยทำให้เราดำเนินธุรกิจทอผ้าไหมมาจนถึงทุกวันนี้ พอคุณจิม ทอมป์สันหายไป เราก็ไม่ได้ส่งผ้าให้ทางจิม ทอมป์สันอีกเลย จากนั้นก็หันมาพัฒนาลายผ้า และทอผ้าของเราได้อย่างเต็มที่”

ชุมชนบ้านครัว หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ "บ้านครัว" ผ่านงาน Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา แต่รู้หรือไม่ว่า บ้านครัวมีเรื่องราวน่าสนใจมากกว่าแค่การเป็นชุมชนมุสลิม เพราะที่นี่คือชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี เป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมเชื้อสายจาม อดีตกองทหารอาสาที่มีส่วนช่วยรบในสงคราม 9 ทัพ ครั้งเริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
นิพนธ์ บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาต่าง ๆ ของผ้าไหมบ้านครัว และการพัฒนากระบวนการทอผ้าไหมของชุมชนบ้านครัวจากความรู้ที่ได้ไปศึกษาในต่างประเทศอย่างน่าสนใจ พร้อมนำตัวอย่างผ้าไหมโบราณของชาวชุมชนบ้านครัวที่มีเนื้อผ้า สีและลวดลายเป็นเอกลักษณ์มาให้ชม
ชุมชนบ้านครัว หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ "บ้านครัว" ผ่านงาน Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา แต่รู้หรือไม่ว่า บ้านครัวมีเรื่องราวน่าสนใจมากกว่าแค่การเป็นชุมชนมุสลิม เพราะที่นี่คือชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี เป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมเชื้อสายจาม อดีตกองทหารอาสาที่มีส่วนช่วยรบในสงคราม 9 ทัพ ครั้งเริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
ไหมหลากสี จัดเรียงไว้เพื่อเตรียมทอเป็นผ้าไหมแสนงามของชาวชุมชนบ้านครัว
ชุมชนบ้านครัว_EXC_Inside-11
ผ้าไหมโบราณของชาวชุมชนบ้านครัวที่มีเนื้อผ้า สีและลวดลายเป็นเอกลักษณ์มาให้ชม

ต้นกำเนิดผ้าไหมในประเทศไทยอยู่ที่นี่ บ้านครัว

ชุมชนบ้านครัว เป็นหนึ่งในชุมชนลับ ๆ ชุมชนหนึ่งที่อยู่กลางเมือง เรารู้จักบ้านครัวแค่เพียงว่าผ้าไหมบ้านครัว แต่เราไม่รู้ว่ากลุ่มชาติพันธุ์แขกจาม ที่บ้านครัวมีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่เริ่มสร้างกรุงเทพฯ การเดินเข้ามาในซอยเกษมสันต์ 2 เราจะได้พบกับพิพิธภัณฑ์บ้านจิมทอมป์สัน

ราชาผ้าไหมที่เป็นจุดเปลี่ยนทำให้ผ้าไหมบ้านครัวมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จัก และพอเราได้มีโอกาสเดินเข้ามาในชุมชนบ้านครัวแล้ว เราจะพบว่าการตั้งรกรากของชุมชนนี้มีความผูกพันกับประวัติศาสตร์บ้านเมืองหลายเรื่อง เช่น การได้รับความดีความชอบจากช่วยรบในสงคราม 9 ทัพ การมีความสัมพันธ์กับคลองรอบกรุง คลองมหานาค คลองบางกะปิ และคลองแสนแสบซึ่งเป็นเส้นทางคลองประวัติศาสตร์สายหนึ่ง ทั้งยังเป็นกลุ่มมุสลิมที่ยังธำรงรักษาวัฒนธรรมของตัวเองไว้ได้อย่างดี

ชุมชนบ้านครัว หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ "บ้านครัว" ผ่านงาน Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา แต่รู้หรือไม่ว่า บ้านครัวมีเรื่องราวน่าสนใจมากกว่าแค่การเป็นชุมชนมุสลิม เพราะที่นี่คือชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี เป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมเชื้อสายจาม อดีตกองทหารอาสาที่มีส่วนช่วยรบในสงคราม 9 ทัพ ครั้งเริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
เรือนปั้นหยาทรงมนิลาหลังงาม ประดับประดาด้วยลวดลายฉลุไม้แบบขนมปังขิง
ชุมชนบ้านครัว หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ "บ้านครัว" ผ่านงาน Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา แต่รู้หรือไม่ว่า บ้านครัวมีเรื่องราวน่าสนใจมากกว่าแค่การเป็นชุมชนมุสลิม เพราะที่นี่คือชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี เป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมเชื้อสายจาม อดีตกองทหารอาสาที่มีส่วนช่วยรบในสงคราม 9 ทัพ ครั้งเริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
ร่องรอยหลักฐานแห่งความรุ่งเรืองครั้งอดีตของขุนนางสมัยรัชกาลที่ 5-6 ที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนบ้านครัว
ชุมชนบ้านครัว หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ "บ้านครัว" ผ่านงาน Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา แต่รู้หรือไม่ว่า บ้านครัวมีเรื่องราวน่าสนใจมากกว่าแค่การเป็นชุมชนมุสลิม เพราะที่นี่คือชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี เป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมเชื้อสายจาม อดีตกองทหารอาสาที่มีส่วนช่วยรบในสงคราม 9 ทัพ ครั้งเริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
หน้าต่างบานเกล็ดไม้แบบบานกระทุ้ง ร่องรอยแห่งเรือนเก่าในย่านชุมชนบ้านครัวที่ยังหลงเหลือให้ได้ชม

ชุมชนบ้านครัวเป็นชุมชนที่ผลิตผ้าไหมคุณภาพดีให้กับราชสำนักที่มีอยู่หลายครัวเรือนในอดีต แต่ปัจจุบันนี้เหลือเพียงครัวเรือนเดียว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเมือง ทำให้เรื่องราวของชุมชนนี้ค่อย ๆ เลือนหายไปจากความทรงจำ และเป็นที่รู้จักของคนไทย จึงอยากเชิญชวนทุกท่าน ถ้ามีโอกาสมาย่านปทุมวัน ลองเดินเข้ามาเยี่ยมชมชุมชนบ้านครัวที่ยังคงเหลือร่องรอยความเจริญในอดีตผ่านเรือนโบราณ อาคารเก่าก็ยังมีให้เห็นอยู่หลายหลังที่มีความเป็นมาแต่ครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ บางหลังสร้างสมัยรัชกาลที่ 5 – 6 ให้ได้สัมผัสกัน

ชุมชนบ้านครัว หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ "บ้านครัว" ผ่านงาน Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา แต่รู้หรือไม่ว่า บ้านครัวมีเรื่องราวน่าสนใจมากกว่าแค่การเป็นชุมชนมุสลิม เพราะที่นี่คือชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี เป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมเชื้อสายจาม อดีตกองทหารอาสาที่มีส่วนช่วยรบในสงคราม 9 ทัพ ครั้งเริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
ไตรรัตน์ ทรงเผ่า

EXPLORERS: นัท, ตู่, เจมส์
AUTHOR: ตู่-ไตรรัตน์ ทรงเผ่า
PHOTOGRAPHER: เจมส์-อนุพงษ์ ฉายสุขเกษม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *