Type and press Enter.

รอยยิ้มและความหวังของแม่แจ่ม

แม่แจ่ม

แม่แจ่ม เชียงใหม่ มีอะไรมากกว่าทุ่งนาขั้นบันได และไร่ข้าวโพด

พวกเราได้กลับมาแม่แจ่มเป็นครั้งที่สองของปีนี้ หลังจากที่เคยมาเยื่ยมการทำงานของทีมงาน ‘แม่แจ่มโมเดลพลัส’ ที่ได้รับการสนับสนุนจาก บมจ.ไทยเบฟฯ เพื่อส่งเสริมการปลูกไผ่ ลดการปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยวอย่างข้าวโพดที่เอาไปขายให้โรงงานทำอาหารสัตว์ เพราะนอกจากจะต้องใช้การเคมีเยอะแล้ว ยังเป็นพืชไร่ที่ต้องใช้การเผาถาง ซึ่งเป็นส่วนนึงของปัญหาสิ่งแวดล้อม

เมื่อพูดถึงเรื่องฝุ่นควัน คนจำนวนมากมักมองมาที่ชาวเขาชาวดอยด้วยสายตาที่เอาผิด แต่แล้วก็กลับไปซื้ออาหารในซุปเปอร์มาร์เก็ตเหมือนเดิม

เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่ไม่ได้มาจากการปลูกข้าวโพดอย่างเดียว และเพื่อให้สภาพแวดล้อมของชุมชนของพวกเขาเองดีขึ้น ควันน้อยลง สารเคมีในแม่น้ำลำธารน้อยลง มีผลิตผลที่เก็บเกี่ยวไว้กินใช้เอง ได้รายได้จากการปลูกพืชอื่น ๆ และที่สำคัญที่สุดคือสร้างงานแบบอื่น ๆ ในชุมชน เช่น งานช่าง งานแปรรูปไม้ และอื่น ๆ

ถ้าในหุบเขานี้ไม่ได้มีแต่ไร่ข้าวโพด แต่เปลี่ยนเป็นการเกษตรผสมผสาน ข้าวโพดก็มีได้ มีทุ่งนา มีไร่ไม้ไผ่แทรกเป็นหย่อมๆ การเผาถางก็จะน้อยลง การใช้สารเคมีก็จะน้อยลง น้ำในลำธารก็จะปลอดภัยต่อการบริโภคมากขึ้น อากาศก็ดีขึ้น
ถ้าในหุบเขานี้ไม่ได้มีแต่ไร่ข้าวโพด แต่เปลี่ยนเป็นการเกษตรผสมผสาน ข้าวโพดก็มีได้ มีทุ่งนา มีไร่ไม้ไผ่แทรกเป็นหย่อม ๆ การเผาถางก็จะน้อยลง การใช้สารเคมีก็จะน้อยลง น้ำในลำธารก็จะปลอดภัยต่อการบริโภคมากขึ้น อากาศก็ดีขึ้น
นั่งรถผ่านไร่ข้าวโพดสุดลูกหูลูกตา มันคือรายได้ที่มั่นคงที่สุดของพวกเขา แม้ว่ามันจะต้องแลกมาด้วยปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม แต่ถ้าเขามีทางเลือกที่ดีกว่าละ เขาจะทำอย่างไร วันนี้เราจะมาหาคำตอบ

วันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับคนที่พยายามจะแก้ปัญหานี้อย่างต่อเนื่อง และจริงจังไม่ว่าจะเป็นพี่น้องเกษตร ที่กำลังพัฒนาคุณภาพไม้ไผ่และฝีมือของช่างในชุมชน เพื่อสักวันเขาจะปลูกไผ่ ขายไม้ไผ่ ทำผลิตภัณฑ์จากไม่ไผ่ ไปพร้อม ๆ กับการทำการเกษตรแบบผสมผสานและยั่งยืน อ่านเรื่องแม่แจ่มโมเดลพลัสเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://ngthai.com/environment/32828/mae-chaem-model-plus

นอกจากจะมาทำสารคดีท่องเที่ยวแล้ว พวกเรามองหาโอกาสในการทำงานร่วมกับชุมชนด้วย โดยเฉพาะถ้าเราสามารถช่วยสร้างรายได้ ช่วยพัฒนาฝีมือแรงงานในชุมชน เราเลยไม่ได้มากันเฉพาะทีมExplorers ครั้งนี้เราชวนทีมบ้านและสวนแฟร์ และทีมสารคดีNational Geographic ฉบับภาษาไทยมาด้วย จริงๆพวกเราก็เป็นทีมเดียวกันที่อมรินทร์นั่นแหละ
นอกจากจะมาทำสารคดีท่องเที่ยวแล้ว พวกเรามองหาโอกาสในการทำงานร่วมกับชุมชนด้วย โดยเฉพาะถ้าเราสามารถช่วยสร้างรายได้ ช่วยพัฒนาฝีมือแรงงานในชุมชน เราเลยไม่ได้มากันเฉพาะทีม Explorers ครั้งนี้เราชวนทีมบ้านและสวนแฟร์ และทีมสารคดี National Geographic ฉบับภาษาไทย มาด้วย จริง ๆ พวกเราก็เป็นทีมเดียวกันที่อมรินทร์นั่นแหละ
เราได้มีโอกาสไปพบทีมงาน แม่แจ่มโมเดลพลัส ที่นี่มีโรงแปรรูปไม้ไผ่ ตั้งแต่การแช่บอแรกซ์เพื่อป้องกันการกัดกินของมอดและปลวก การตากแห้ง และการตัดออกมาในรูปแบบต่างๆ การปลูกและขายไม้ไผ่อาจจะเป็นรายได้เสริมที่ดี และลดการพึ่งพาการปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยวได้
เราได้มีโอกาสไปพบทีมงาน แม่แจ่มโมเดลพลัส ที่นี่มีโรงแปรรูปไม้ไผ่ ตั้งแต่การแช่บอแรกซ์เพื่อป้องกันการกัดกินของมอดและปลวก การตากแห้ง และการตัดออกมาในรูปแบบต่างๆ การปลูกและขายไม้ไผ่อาจจะเป็นรายได้เสริมที่ดี และลดการพึ่งพาการปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยวได้
พี่ประพันธ์ผู้รอบรู้เรื่องไม้ไผ่ในแม่แจ่ม กำลังหารือกับทีมงานบ้านและสวนแฟร์ ว่าที่นี่มีไผ่แบบไหนบ้าง แต่ละชนิดมีข้อดีข้อจำกัดต่างกันอย่างไรบ้าง ก่อนที่เราจะเริ่มออกแบบชิ้นงานที่จะมาใช้ในบ้านและสวนแฟร์
ทีมออกแบบของเรากำลังทำงานร่วมกับช่างไม้ ตัดไม้ไผ่แบบนี้ก็ได้ลวดลายที่น่าสนใจดีนะ
ไม้ไผ่ถ้าใช้งานอย่างสร้างสรรค์ สวยงามไม่แพ้ไม้แพงๆชนิดอื่นเลย
ดูโรงไผ่แล้วเราก็ต้องมาดูไร่ไม้ไผ่ แม้ตอนนี้ยังเก็บเกี่ยวมาใช้งานได้ไม่มาก อายุยังไม่ถึง 4ปีดี แต่อีกหน่อยจะเป็นแหล่งรายได้เสริมที่ดี หากมีการนำไปใช้ เกิดการยอมรับมากขึ้น
ดูโรงไผ่แล้วเราก็ต้องมาดูไร่ไม้ไผ่ แม้ตอนนี้ยังเก็บเกี่ยวมาใช้งานได้ไม่มาก อายุยังไม่ถึง 4ปีดี แต่อีกหน่อยจะเป็นแหล่งรายได้เสริมที่ดี หากมีการนำไปใช้ เกิดการยอมรับมากขึ้น

นอกจากนี้เราจะพาไปคุยกับเกษตรกรที่อยากให้คุณรู้จักข้าวไร่ข้าวดอย ว่าอร่อยขนาดไหน แม้จะปลูกได้แค่ปีละครั้งและมีขายไม่มาก แต่มันทำให้ชุมชนมีความมั่นคงทางอาหาร มากกว่าการขายพืชให้โรงงานทำอาหารสัตว์แลกกับเงินสดไม่เท่าไหร่ เราจะพาไปดูเกษตรที่นำวิถีออร์แกนิกมาใช้กับการปลูกพืชผักเมืองหนาว เพื่อให้ได้ผลิตผลที่มีราคาสูง แม้จะต้องทำการตลาดเอง และติดต่อขายตรงกับลูกค้าเฉพาะกลุ่มด้วยตัวเองทั้งหมด ทั้งยังต้องปรับตัวให้ใช้ชีวิตแบบไร้สารเคมีจริง ๆ

ที่ที่เรามาเยือนคือ ต้นน้ำ Organic farm ของคุณบอย หนุ่มม้งผู้รอบรู้เรื่องดินและวิถีการเกษตรแบบไม่ใช้สารเคมี
ผัก ผลไม้ และไม้หัวต่างๆในไร่คุณบอย อร่อยมาก เราเด็ดกินกันสด ๆ จนอิ่มทั้งยืน
จะมีกี่ครั้งที่เราได้ยินเกษตรกรพูดว่า วัชพืชมีประโยชน์ บางตัวเป็นยา แต่ต้องอยู่ร่วมกันให้เป็น
แก้ไข
สตรอเบอรี่ของฟาร์มนี้ อร่อยเวอร์บ้าบอมาก อร่อยจริงๆ
แก้ไข
จะปลูกแบบออร์แกนิก ต้องเก็บเมล็ดพันธุ์เป็นของตัวเอง

เราจะพาไปดูความพยายามในการแก้ปัญหาช้างและควาญช้างตกงาน ที่ต้องกลับมาอยู่บ้านเพราะโรงแรมและปางช้างต่าง ๆต้องปิดไปในช่วงโควิด-19 ระบาดตลอดปี ชาวบ้านที่เป็นเจ้าของช้างเดิมทีจะมีรายได้จากการให้เช่าช้างในธุรกิจท่องเที่ยว แต่ที่ผ่านมาไม่มีรายได้เลยสักบาท

ในขณะที่มีภาระในการหาอาหารหาน้ำสะอาดมาดลี้ยงดูช้างหลายสิบเชือกในหมู่บ้านเอง ภาระจะยิ่งหนักเมื่อช้างมีอาการป่วย พวกเขาเลยมีความคิดจะเปลี่ยนหมู่บ้านของเขาให้กลายเป็น โฮมสเตย์ ให้คนมาเที่ยวมาพักมาทำกิจกรรมเลี้ยงช้าง เดินป่าที่สมบูรณ์ ลองกินอาหารพื้นถิ่น ลองเรียนภาษาชนเผ่า ถึงแม้ทุกคนจะดูเหน็ดเหนื่อย แต่เราเห็นในแววตาของพี่น้องทุกคน ว่าการท่องเที่ยวชุมชน จะทำให้พวกเรารอดพ้นวิกฤตนี้ไปได้

ทีมงานคุณภาพในเครือ ห้วยบง
ทีมงานคุณภาพในเครือ ห้วยบง
บะหมี่สำเร็จรูปอร่อยขึ้นเป็น3เท่าเมื่ออยู่ในกระบอกไม้ไผ่ ความรู้สึกล้วนๆ ไม่เชื่อต้องไปลองเอง
ลุงบุญสม สิทธิ์คงดิลก อดีตควาญช้างรุ่นเก่า พาเรามาเดินเล่นกับช้างและช่วยทำอาหารให้พวกเรากิน
คุณลุงบุณสม ผู้เป็นทั้งควาญ และเชฟ กำลังหุงข้าวเพิ่ม และต้มน้ำร้อน ด้วยภาชนะที่เพิ่งDIYสดๆมาจากลำไม้ไผ่ทั้งหมด ทั้งหม้อ จาน แก้วน้ำ ที่พกมาคือมีดสารพัดประโยชน์กับช้อนสะอาดเท่านั้น
ได้เวลากิน
คอยฟังคำแนะนำของควาญ ช้างพวกนี้เป็นช้างที่คุ้นเคยกับคนมากๆ เป็นช้างที่ตกงาน จากธุรกิจท่องเที่ยวที่ต้องหยุดจ้าง ทั้งช้างและควาญต้องกลับบ้าน ขาดรายได้ไม่พอ ยังมีภาระในการหาอาหาร หาน้ำสะอาด หายารักษาโรคให้ช้าง แม้ตัวเจ้าของเองจะมีรายได้ไม่มาก แต่ก็ต้องดูแลให้ดีที่สุด ไอเดียของสดุดีและพี่ๆควาญก็คือ แล้วทำไมเราไม่ทำให้บ้านเรากลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเสียเอง ช่วยกันทำ แบ่งรายได้กัน ยังไงก็ต้องออกเดินเลี้ยงช้างทุกวันอยู่แล้ว
พี่ควาญสอนผมว่าช้างชอบหรือไม่ชอบอะไร กินและไม่กินอะไร ที่เคยรู้มา ผิดเกือบหมด
ยักษ์ใหญ่ใจดี
จะมีสักครั้งในชีวิตที่คุณจะได้เดินพาช้างหาอาหารกินในป่า อาบน้ำให้ช้าง และได้ทำความรู้จักกับชีวิตของควาญช้าง
จะมีสักครั้งในชีวิตที่คุณจะได้เดินพาช้างหาอาหารกินในป่า อาบน้ำให้ช้าง และได้ทำความรู้จักกับชีวิตของควาญช้าง

การเลี้ยงช้างผสมกับการปลูกข้าวปลูกไผ่อาจจะเป็นการหาเลี้ยงที่ยั่งยืนกว่าการปลูกข้าวโพดเป็นหลัก อ่านเรื่อง Elephant Homestay ห้วยบงต่อได้ที่ https://ngthai.com/travel/32598/camping-in-to-the-fields

หนึ่งในโปรแกรมการท่องเที่ยววิถีชุมชน คือการกิน ทำอะไรมาให้เราเราก็กิน แม้จะไม่รู้ว่ามันคืออะไร 555
ลูกสีแดงๆ คือ “พ่อสะรอ” รสชาติ…ไม่มีรสชาติ ส่วนรากไม้นั่นคือ ผักชู รากและใบหอมมาก ใช้ซอยใส่อาหาร หรือกัดเป็นเครื่องเคียงชูรสได้
ห้วยบง Welcome Drink ชาแดงร้อนๆที่มีชื่อเล่นๆว่า “ไวแอกร้าดอย” เราจิบกันไปคนละแก้ว แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย ยังเป็นเพื่อนกันดีอยู่
คืนนี้ส่วนนึงของทีมงานที่เป็นผู้หญิงจะนอนพักที่บ้านของสดุดี ผู้ชายจะออกไปหาที่กางเต้นท์ตามสไตล์ Explorers ส่วนอาหารที่เราได้กินกันไป ทำมาจากครัวของบ้านข้างๆ เขากินกันแบบไหน เราก็จะกินกันแบบนั้น 🙂
ชื่อของพวกเรา ในภาษาปกาเกอะญอ ซึ่งเราจำไม่ได้แล้วว่าอันไหนเป็นของใคร
คุณลุงวิโรจน์ โมรีชาติ จากบ้านข้างๆมานั่งคุยกับเราเรื่องประวัติของชุมชน ส่วนพ่อหนุ่มกับลูกสาวคนสวย มาเล่าเรื่องผีครับ แต่พวกเราไม่กลัว จริงจริ๊ง!!
คุณลุงวิโรจน์ โมรีชาติ จากบ้านข้างๆมานั่งคุยกับเราเรื่องประวัติของชุมชน ส่วนพ่อหนุ่มกับลูกสาวคนสวย มาเล่าเรื่องผีครับ แต่พวกเราไม่กลัว จริงจริ๊ง!!
เมื่อกลางเดือนก่อน ผมมาตรงนี้แล้ว ตอนนั้นยังเป็นทุ่งนาสีเขียวขจี แต่มาในเดือนธันวาคมแบบนี้ ก็จะเหลือแต่ตอซังข้าวแห่งๆให้เห็น มองเผินๆอาจจะไม่สวย แต่เราคิดว่ามันคือโอกาส สดุดีบอกว่าพวกเราเป็นคนแรกที่มาขอลงไปกางเต้นท์นอนกลางทุ่ง
สัญญาณดี แต่ไม่มีใครทักมาเลย 55 ภาชนะสานไม้ไผ่ที่มีไว้ใส่ไก่ แต่เราเอามาทำโคมไฟแคมป์
ล้อมวงกลางทุ่ง
จะมีสักกี่ครั้ง ที่คุณจะได้นอนกลางทุ่งนาบนดอย แล้วตื่นขึ้นมารับแสงอรุณ จิบกาแฟร้อนๆในบรรยากาศที่เย็นสบาย
ไฮไลท์ของการนอนกลางทุ่งนาบนเขา นอกจากจะอากาศดีแล้ว ช่วงพระอาทิตย์ขึ้นมันสวยสุดยอด เลอค่า priceless !
แสงยามเช้ากลางทุ่งนา
แสงยามเช้ากลางทุ่งนา
ข้าวไร่ พันธุ์พื้นถิ่นของที่นี่ หอม เหนียวนุ่ม อร่อยมากกกกก ผมกินเปล่าๆไปเป็นจาน
ข้าวไร่ พันธุ์พื้นถิ่นของที่นี่ หอม เหนียวนุ่ม อร่อยมากกกกก ผมกินเปล่าๆไปเป็นจาน
ภูมิอากาศที่นี่ดีมาก ภูมิประเทศแทบไม่ต้องพูดถึง อีกรายได้สำคัญที่จะช่วยชุมชนได้คือ CBT หรือการท่องเที่ยววิถีชุมชน ทีมงานของเรากำลังหารือกับคุณสดุดี หนุ่มปกาเกอะญอ ที่ต้องกลับมาอยู่บ้านเพราะพิษโควิด แต่เขามองว่าเป็นโอกาสดี ที่เขาจะสร้างหมู่บ้านห้วยบง Elephant Homestay Huay Bong ให้เป็นที่รู้จัก

หากคุณคิดจะไปเที่ยวเชียงใหม่ พวกเราขอแนะนำให้คุณแวะไปหาพวกเขาที่ บ้านห้วยบง อำภอแม่แจ่ม อาจจะต้องขับไกลสักนิด แต่หากคุณจะมองให้ทะลุทะเลหมอก มองให้ผ่านความสะดวกสะบายของการท่องเที่ยวในที่ป๊อบปูล่า เราอยากให้คุณลองมาพักที่บ้านของพวกเขา ลองชิมอาหาร มาลองข้างหุงเสร็จใหม่ ๆ มานั่งพูดคุย ช่วยเขาพาช้างเดินหาอาหารไปตามลำธาร ช่วยอาบน้ำช้าง และขับรถเยี่ยมฟาร์มต่าง ๆ ซื้ออุดหนุนบ้าง เด็ดกินฟรีบ้างก็มี หรือแค่แวะมาบอกเขาว่าสิ่งที่พวกเขากำลังทำมันน่าชื่นชม หน้าฝนมีนาขั้นบันไดเขียวขจีเหมือนในอินเตอร์เน็ต แต่หน้าหนาวก็น่ากางเต้นท์กลางนา นอนรอตื่นมาดูแสงอาทิตย์ ในแบบที่ยังไม่มีบล็อกเกอร์คนไหนเคยมาลอง หน้าร้อนก็ยังพาช้างเดินเล่นน้ำแก้ร้อนได้

ขอบคุณน้อง ๆ ทีมงานบ้านและสวนแฟร์ ที่นอกจากจะตามมาเที่ยวแล้ว ยังมาทำงานออกแบบ และศึกษาเรื่องไม่ไผ่เพิ่มเติม เพื่อที่จะใช้ไม้ไผ่แม่แจ่มในงานบ้านและสวนแฟร์ครั้งต่อ ๆ ไปให้มากขึ้น และเพื่อให้ช่างที่นี่เก่งขึ้น มีกำลังใจที่ดีขึ้นมานะครับ มาอุดหนุน มายิ้มกว้าง ๆ ให้คนที่แม่แจ่มกัน

ภาพจากโดรน บรรยายความรู้สึกทั้งหมดได้ดี

EXPLORERS: บก.เจ, ตู่, เต้, บาส, มิลค์ๆ, มิ้งๆ และทีมงานบ้านและสวนแฟร์
ภาพโดย ต้น, เจมส์, และแม็กซ์ น้องฝึกงานชาวเชียงใหม่ในตำนาน

ขอบคุณ: ไทยเบฟฯ แม่แจ่มโมเดลพลัส, เอเลเฟ่นโฮมสเตย์ห้วยบง,
ต้นน้ำ ออร์แกนิกฟาร์ม, บ้านและสวน และเนชั่นเนลจีโอกราฟฟิก ที่ร่วมทริปนี้ไปกับเรา

ข้อมูลเพิ่มเติม : https://ngthai.com/travel/32598/camping-in-to-the-fields
ต้นน้ำ Organic farm
Elephant Homestay Huay Bong
ทีมประชาสัมพันธ์ “แม่แจ่มโมเดลพลัส”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *